- ด้านการไม่ปล่อยก๊าซกรด (Acid gas emission) คือ สายไฟเมื่อถูกไฟไหม้ส่วนสารประกอบที่ฉนวนสายไฟจำให้เกิดก๊าซขึ้น และก๊าซบ้างอย่างก็จะทำให้เกิดเป็นกรด ซึ่งมีคุณสมบัติการกัดกร่อนสูง ดังนั้นสายไฟจะต้องไม่มีสารฮาโลเจน (Zero Halogen หรือ Halogen free)
|
มาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบสายทนไฟคือ มาตราฐาน IEC 60754-2 การทดสอบจากตัดฉนวนสายไฟเป็นชื้นเล็กๆประมาณ 1000mg แล้วมาใส่ถาดเผา แล้วนำน้ำที่ได้จากไอ มาวัดค่า Ph ต้องไม่น้อยกว่า 4.3 คือไม่เป็นกรด และมาวัดค่าการนำไฟฟ้า ต้องไม่เกิน 10us/mm. จึงจะถือว่าผ่าน และ ก็มีมาตรฐาน มอก.2757-2559 ออกมา ซึ่ง มอก.ฉบับนี้ อ้างอิงตามมาตราฐาน IEC 61034-2 (เป็น มอก.ไม่ใช่ภาคบังคับ)
|
- ด้านการไม่ปล่อยควัน (Smoke emission หรือ Low smoke) คือ สายเมื่อเกิดไฟไหม้สายแล้วจะต้องไม่ก่อให้เกิดควัน หรือต้องไม่มากเกินไปจนไปลดการมองเห็น และทำให้คนสำลักควันเสียชีวิตได้
|
มาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบสายทนไฟคือ มาตราฐาน IEC 601034-2 จะเป็นการทดสอบความหนาแน่นของควันที่เกิดจากการเผาไหม้สาย โดยจะทดสอบในห้องทึบ ทำการเผาสายไฟไปจนเปลวไฟดับ แล้วยิ่งแสงผ่านเข้าไปในห้อง แล้ววัดค่าความเข้มของแสงต้องไม่น้อยกว่า 60% จึงจะถือว่าผ่าน และ ก็มี มาตรฐาน มอก.2758-2559 ออกมา ซึ่ง มอก.ฉบับนี้ อ้างอิงตาม IEC 61034-2 (เป็น มอก.ไม่ใช่ภาคบังคับ)
|
วงจรอะไรบ้างที่ต้องใช้สายทนไฟ ?
|
ในบทที่ 12 ของมาตรฐานทั้งปี 2556 และมาตรฐานใหม่ปี 2564 มีกำหนดให้ใช้สายทนไฟสำหรับวงจรช่วยชีวิต คือ วงจรดังต่อไปนี้
|
|
- ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำหรับกรณีฉุกเฉินไปยังแผงจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉินเพื่อการหนีภัย
- ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้และระบบสื่อสารฉุกเฉินสำหรับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (อันนี้ไม่ใช่ทั้งระบบที่จะต้องเป็นสายทนไฟนะ หากเป็นวงจรเริ่มสัญญาณ เช่น วงจรอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ อันนี้ไม่ต้องใช้สายทนไฟก็ได้ แต่วงจรที่จำเป็นต้องใช้สายทนไฟคือวงจรที่ส่งสัญญาณแจ้งเตือนหรือวงจรที่ใช้สำหรับควบคุมระบบผจญเพลิงต่างๆ เช่น กระดิ่ง ลำโพง หรือระบบสื่อสาร เป็นต้น )
- ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน (อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าใช้หรือออกแบบไฟแสงสว่างฉุกเฉินเป็นแบบมีแบตเตอรี่ในตัว สายไฟที่จ่ายมาให้ไม่จำเป็นต้องเป็นสายทนไฟ แต่ถ้าออกแบบเป็นไฟที่มีแบตเตอรี่ส่วนกลางต้องดุงสายมาหาโคมไฟแสงสว่างฉุกเฉินแบบนี้สายจะต้องเป็นสายทนไฟนะ)
- ระบบอัดอากาศสำหรับบันไดหนีไฟ
- ระบบดูดและระบายควันรวมทั้งระบบควบคุมการกระจายไฟและควัน
- ระบบสูบน้ำและระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
- ระบบลิฟต์ดับเพลิง
|
- ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินทั้งในอาคารใต้ผิวดินและอุโมงค์ทางวิ่ง
- ระบบอัดอากาศสำหรับบันได้หนีไฟ
- ระบบดูดและระบายควันรวมทั้งระบบควบคุมการกระจายไฟและควัน
- ระบบสื่อสารฉุกเฉิน
- ระบบระบายควัน ทั้งในอาคารใต้ดินและอุโมงค์ทางวิ่ง
- ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและการดับเพลิงทั้งหลาย
|
*โดยมาตรฐานใหม่ปี 2564 มีการเปลี่ยนแปลง จากมาตรฐานเดิมปี 2556
เดิม บทที่ 13 อาคารเพื่อการสาธารณะใต้ผิวดิน เปลี่ยนมาเป็น อาคารใต้ดิน
(เพื่อไม่ต้องตีความกันว่าอันนี้สาธารณะหรือส่วนบุคคลกัน เช่น ลานจอดรถใต้ดินของอาคาร หลายคนไปตีความว่าไม่ใช้สาธารณะก็ได้)
เดิม ไม่กำหนดขนาด แต่มาตรฐานใหม่ มีการกำหนดนิยามขนาดของอาคารใต้ผิวดินว่า ที่มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 1,000 ตร.ม.ขึ้นไป ถึงจะต้องออกแบบและติดตั้งระบบต่าง ๆ ตามบทที่ 13
*โดยสายทนไฟที่ใช้จะต้องเป็นไปตาม BS 6387 ระดับชั้นการทดสอบ CWZ หรือ สายเคเบิลชนิด MI (สายทนไฟตาม IEC 60331 หรือ มอก.2755 ใช้ไม่ได้นะ)
|
การเดินสายทนไฟ
|
ในการเดินสายทนไฟในมาตรฐานปี 2556 กำหนดว่าถ้าสายทนไฟที่ใช้เป็นสายที่ไม่มีเปลือกหรือหุ้มด้วยโลหะ สายทนไฟจะต้องเดินในท่อหนามีเกลียวเท่านั้น คือต้องเดินในท่อ IMC เป็นอย่างต่ำ ห้ามใช้ท่อร้อยสายไฟ EMT
|
จากมาตรฐานเดิมปี 2556 สายทนไฟที่ไม่มีเปลือกหุ้มด้วยโลหะต้องเดินในท่อหนามีเกลียว หรือท่อร้อยสาย IMC ตามมาตรฐานใหม่ปี 2564 ได้มีการปรับเป็น " การเดินสายทนไฟในท่อร้อยสาย อนุญาตให้เดินสายทนไฟใน ท่อร้อยสายไฟ EMT ได้แล้วนะ แต่ถ้าเป็นอาคารใต้ผิวดินข้อต่อของท่อร้อยสายไฟ EMT จะต้องเป็นชนิดกันน้ำ (Rain tight) ด้วยนะ "
สามารถคลิ๊กเพื่อเลือกดูข้อต่อท่อร้อยสายไฟ EMT ชนิดกันน้ำ
|
แล้วสายทนไฟตามมาตรฐาน IEC 60331 หรือ มอก.2755 ใช้ที่ไหนบ้าง ?
|
มีกำหนดให้ใช้อยู่ที่ อาคารใต้ผิวดิน ข้อ 13.2.2 ระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง
- ระบบระบายอากาศ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายลม
- ระบบระบายน้ำฉุกเฉิน
- ระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน
- ระบบสัญญาณเตือนภัยต่างๆ
- ระบบควบคุมคอมพิวเตอร์
- ระบบทางหนีภัย
|
แล้วสาย LSHF ใช้ที่ไหนบ้าง ?
|
โรงมหรสพ สายไฟแรงต่ำ ในส่วนภายในที่ผู้นั่งชมการแสดง ห้องควบคุม เวที ช่องบันได ทางหนีไฟ ต้องใช้สาย LSHF (ยกเว้นโรงมหรสพประเภท จ. ตามกฎหมายคสบ. คุมอาคาร คือโรงมหรสพที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง)
สถานบริการ สายไฟแรงต่ำ ในพื้นที่บริการ ต้องเป็นสาย LSHF (ยกเว้นสถานบริการประเภท ก. น้อยกว่า 200 ตร.ม. และ ฉ. ไม่มีหลังคาคลุม ตามกฎหมายความคุมอาคาร )
อาคารใต้ผิวดิน ข้อ 13.2.1 ระบบที่ต้องการความปลอดภัยปกติ ได้แก่
- ระบบแสงสว่างทั่วไป
- ระบบไฟฟ้ากำลัง ที่นอกเหนือจากระบบความปลอดภัยสูง และความปลอดภัยสูงมาก
- ระบบปั๊มน้ำขึ้นถังบนหลังคา
- ระบบระบายอากาศ
- ระบบระบายน้ำโดยทั่วไป
|
แล้วสาย FD ใช้ที่ไหนบ้าง ?
|
ในมาตรฐานการติดตั้งตั้งแต่ ปี 2556 จนถึงฉบับใหม่ ปี 2564 ก็ยังมีกำหนดเหมือนกัน ว่าถ้าจะติดตั้งสาย CV ในอาคารและติดตั้งบนรางเคเบิล หรือวิธีการเดินสายที่ไม่ปิดมิดชิด ต้องใช้สาย CV ที่ผ่านมาตรฐานการลามไฟ ตาม IEC 60332-3 Cat.C
|
สรุป การใช้สายทนไฟต้องรู้คุณสมบัติ และชนิดของสาย
|
- สายทนไฟ FRC (950C) ตามมาตรฐาน BS 6387 หรือ มอก.3197-2564 ระดับ CWZ ใช้กับวงจรช่วยชีวิตทั้งหมด
- สายทนไฟ FRC (830C) ตามมาตรฐาน IEC 60331 หรือ มอก.2755-2559 ใช้กับวงจรในระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง ของอาคารใต้ผิวดิน
- สาย LSHF ตามมาตรฐาน มอก.2756 หรือ IEC 60332-3 Cat.C , มอก.2757 หรือ IEC 60754-1, มอก.2758 หรือ IEC 61304-2 ใช้กับวงจรในระบบความปลอดภัยปกติ ของอาคารใต้ผิวดิน และวงจรไฟฟ้าทั่วไปของโรงมหรสพ และสถานบริการ
- สาย FD-CV ตามมาตรฐาน IEC 60332-3 Cat. C ใช้ในกรณีเดินสาย CV ในอาคารและเดินสายด้วยวิธีที่เป็นแบบเปิด เช่น เดินในรางเคเบิล ที่ไม่มีการปิดมิดชิด
|
|