ReadyPlanet.com


การเลือกขนาดเครื่องป้องกันกระแสเกิน (เซอร์กิตเบรกเกอร์ CB) ของวงจรมอเตอร์ที่เหมาะสม


 

 

การเลือกขนาดเครื่องป้องกันกระแสเกิน (เซอร์กิตเบรกเกอร์ CB) ของวงจรมอเตอร์ที่เหมาะสม

 

การกำหนดขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์เพื่อป้องกันกระแสลัดวงจรสำหรับมอเตอร์ "ควรกำหนดให้เล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อช่วยป้องกันมอเตอร์ทำงานเกินพิกัด และช่วยป้องกันสายไฟฟ้า" แต่ในทางปฏิบัติทำได้อยากเนื่องจากกระแสเริ่มหมุน (Starting Current) มีค่าสูงมากมาก

 

เราลองมาดูการเลือกใช้ CB 3 แบบ สำหรับวงจรมอเตอร์ที่มีการ Start แบบ Direct on line (DOL)

 

CB1 : คือ การเลือก CB(AT) ที่มีพิกัดตัดวงจรสูงกว่าค่ากระแส Full load ของมอเตอร์เพียงเล็กน้อย ผลคือ เมื่อมอเตอร์เริ่มหมุน กระแสจะสูงถึง 5-7 เท่า ดังนั้น มอเตอร์จึงอาจจะปลดวงจรด้วย ฟังก์ชั่นการทำงาน Magnetic trip function ของ CB

 

CB2 : คือ การเลือก CB(AT) ที่มีพิกัดตัดวงจรสูงกว่าค่ากระแส Full load ของมอเตอร์ 1.5-2.5 เท่าเพื่อป้องกันการปลดวงจรขณะมอเตอร์เริ่มหมุน แต่ก็ทำให้ขนาด CB ที่เลือกนั้นมีค่าการตัดวงจรที่สูงกว่าพิกัดการทำงานของมอเตอร์ และขนาดพิกัดสายไฟที่ทนได้ แบบนี้ก็คือ แก้ปัญหาไม่ให้ CB ทริปหรือปลดวงจรตอนมอเตอร์เริ่มหมุน แต่ขนาด CB ที่เลือกมาจะไม่ป้องกันมอเตอร์และสายไฟ แล้วจะทำอย่างไร ?

 

CB3 : คือ เบรกเกอร์ที่ออกแบบมาเพื่อวงจรมอเตอร์โดยเฉพาะ โดยจะค่าการปลดวงจรด้วย Magnetic trip function สูงกว่า CB2 แต่มีค่าการปลดวงจรตอนกระแสเกินช่วงการทำงานเป็น Thermal contract trip มีค่าสูงกว่าพิกัดกระแสของมอเตอร์ไม่มาก เช่น เบรกเกอร์ที่เป็น MCB Type-D (จะทำงานปลดวงจรที่ Magnetic Trip ที่ 10-50เท่าของพิกัดมอเตอร์) แต่ส่วนมากแล้ว MCB ที่มีขายกันอยู่แค่ Type-C จะทำงาน 5-10เท่าของพิกัดมอเตอร์) หรือใช้เบรกเกอร์ที่สามารถปรับตั้งค่า Magnetic trip function ได้  (MCCB)

 

ดังนั้น ...เมื่อเลือกขนาดเบรกเกอร์ CB2(AT) ใหญ่กว่าพิกัดมอเตอร์ (1.5-2.5 เท่า) จึงจำเป็นจะต้องมีการป้องกันมอเตอร์ให้มีการปลดวงจรหากมอเตอร์มีการทำงานเกินพิกัดและทำให้สายไฟฟ้ารับกระแสมากกว่าพิกัด แต่ CB2(AT) ไม่ตัด โดยการติดตั้ง Overload Relay : OLR (ปกติจะตั้งประมาณ 1.25-1.4 เท่า



ผู้ตั้งกระทู้ admin :: วันที่ลงประกาศ 2019-08-26 14:02:03


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล