ReadyPlanet.com


วงจรอะไรบ้างที่ต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) #สำหรับที่อยู่อาศัย


 

กระแสไฟฟ้ารั่วและการป้องกัน 🔌

หลาย ๆ คนจะเคยประสบกับตัวเองหรือได้ยินคำว่าไฟดูดมาบ้างแล้วซึ่งไฟดูด (Electric shock) คือ การที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย เนื่องจากร่างกายไปสัมผัสกับส่วนที่มีไฟฟ้า ความรุนแรงของไฟฟ้าดูดนั้นทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งส่วนหนึ่งของการที่คนถูกไฟดูด ก็คือการที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้นที่เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือวงจรไฟฟ้า แล้วคนไปสัมผัสถูกนั่นเอง

กระแสไฟฟ้ารั่ว หมายถึงอะไร 

กระแสไฟฟ้ารั่วหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่าไฟรั่ว หมายถึง การที่กระแสไฟฟ้าได้รั่วไหลจากวงจรไฟฟ้าไปที่ผิวของสายไฟฟ้าหรือโครง (ผิวหรือโครงที่เป็นโลหะเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า) ของอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า รั่วไปที่ผิวของโครงหรือผนังของจุดติดตั้งระบบไฟฟ้า เช่น เสาโลหะโคมไฟส่องสว่าง เสาโลหะกล้อง CCTV เป็นต้น ทำให้จุดเหล่านั้นมีกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า ซึ่งหากไปสัมผัสอาจทำให้อันตรายถึงชีวิตได้

💥กระแสไฟรั่วเกิดจากอะไร ?

กระแสไฟฟ้ารั่วสามารถเกิดได้จากหลาย ๆ สาเหตุเริ่มตั้งแต่การเดินสายไฟที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน และขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้งานที่ไม่ถูกต้องตลอดไปจนถึงการเสื่อมสภาพของฉนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เป็นระยะเวลานาน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการที่ฉนวนที่ใช้ห่อหุ้มใช้พันหรือใช้คั่นส่วนที่มีแรงดันไฟฟ้า เกิดชำรุดหรือเสื่อมสภาพ ทำให้ตัวนำหรือจุดเหล่านั้นมีแรงดันไฟฟ้า และไปสัมผัสกับโครงโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้า จึงเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว

⚠ เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วแล้ว เกิดอันตรายได้อย่างไร ?

  • ผู้ที่ไปจับต้องหรือสัมผัสส่วนที่มีกระแสไฟรั่ว ทำให้ถูกระแสไฟฟ้าดูด ความอันตรายของกระแสไฟฟ้าขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟฟ้า และระยะเวลาที่ถูกไฟดูด ความรุนแรงของไฟดูดนั้น อาจทำให้เป็นอัตรายถึงชีวิตได้
  • ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วจะพยายามไหลไปตามสิ่งที่เป็นสื่อไฟฟ้าเพื่อลงดิน และทำให้เสียความไฟฟ้าเพิ่มขึ้นซึ่งเปรียบเสมือนน้ำประปารั่วตามจุด ๆ ในบ้านก็จะเป็นการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ และเสียค่าเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
  • เป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้ เนื่องจากบริเวณหรือจุดที่เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วจะมีกระแสไฟฟ้าไหลจนเกิดความร้อนชื้นและหากความร้อนสะสมเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการติดไฟจนสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้

🔧 ตรวจสอบอย่างไรว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ?

ระบบไฟฟ้าที่เราใช้กันในบ้านพักอาศัย การตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่นั้น สามารถตรวจสอบได้เองโดยใช้ไขควงเช็คไฟ ตรวจสอบให้จับที่ด้ามไขควงและนำปลายไขควงไปแตะจุดที่ต้องการตรวจสอบ หากเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟอยู่ ให้แตะที่ผิวที่โครงซึ่งเป็นโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ หากพบว่าหลอดไฟที่ด้ามไขควงสว่างขึ้น แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ารั่วหรือไม่ จะต้องให้ช่างที่มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้ตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่ว เพื่อความปลอดภัยต่อไป

 

👷ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว ได้อย่างไร ?

          การป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ (ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนหรือที่ใช้ทั่วไป) สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • ติดตั้งระบบไฟฟ้าที่มีสายดิน ซึ่งสายดินมีความสำคัญและเป็นมาตรการหลักในการที่จะช่วยป้องกันชีวิตจากอันตรายของกระแสไฟฟ้ารั่ว สายดินที่ใช้มีสัญลักษณ์เป็นสายสีเขียว หรือสายสีเขียวแทบเหลือง โดนที่อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เต้าเสียบจะเป็นแบบ ขา และเต้ารับจะเป็นแบบ รู ซึ่งจะช่วยป้องกันอันตราย จากกระแสไฟฟ้ารั่วจะไหลไปตามสายดิน แล้วลงดินที่แผงเมนสวิตช์

 

 จากรูปจะแสดงทางเดินกระแสไฟฟ้ารั่ว เมื่อติดตั้งระบบเดินสายดิน (คนสัมผัสอุปกรณ์จะปลอดภัย)

  • ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว หรือที่เรียกว่า เครื่องตัดไฟรั่ว ซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันสำหรับไฟรั่ว เมื่อถึงค่าที่กำหนด
  • หลีกเหลี่ยงการสัมผัสหรือจับต้องอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือวงจรไฟฟ้าโดยเฉพาะส่วนที่เป็นโลหะของอุกรณ์ไฟฟ้า โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้าและควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือยืนอยู่บนที่เปียกเฉาะ ขณะจับต้องอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ใช้วัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าปูพื้น เช่น แผ่นไม้แห้ง แผ่นยาง แผ่นพลาสติก เป็นต้น และให้ยืนบนฉนวนนั้นเมื่อจำเป็นต้องสัมผัสหรือจับอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือวงจรไฟฟ้า
  • หากจำเป็นต้องสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสิ่งที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ดังกล่าวโดยสงสัยว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ให้ใช้ไขควงเช็คไฟตรวจสอบจุดที่สัมผัสก่อนเมื่อพบว่าไม่มีไฟรั่วหรือสัมผัสก่อน เมื่อพบว่าไม่มีไฟรั่วหรือจับต้องได้

เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วและมาตรฐาน🔌

เครื่องตัดไฟรั่วคืออะไร 

เครื่องตัดไฟรั่ว คือ เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่จะทำงานตัดกระแสไฟฟ้าภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าและออกมีค่าไม่เท่ากัน (นั้นคือมีกระแสไฟฟ้าบางส่วนรั่วหายไป เช่นกระแสจากเครื่องไฟฟ้าลงดิน หรือจากการที่กระแสไฟฟ้ารั่วผ่านคนที่ไปสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีไฟรั่ว เป็นต้น) ซึ่งขณะใช้งานปกติ จะไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่วดังนั้นไฟรั่วจะไม่ทำงาน

  

เครื่องตัดไฟรั่วมีประโยชน์อย่างไร ?

  • ใช้ป้องกันอันตรายจากไฟดูด โดยจะตัดไฟเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลผ่านร่างกายที่ผู้สัมผัส ซึ่งสามารถป้องกันได้ทั้งกรณีสัมผัสตัวตัวนำไฟฟ้าโดยตรง เช่น เด็กเอานิ้วจิ้มเต้ารับไฟฟ้า และกรณีสัมผัสโดยอ้อม เช่น สัมผัสโครงโลหะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีไฟรั่ว
  • ใช้ป้องกันอัคคีภัย โดยจะตัดไฟเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้นกับวงจรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ในกรณีที่เครื่องป้องกันกระแสเกิน (ฟิวส์หรือเบรกเกอร์) ไม่ทำงานหรือทำงานช้า เนื่องจากค่ากระแสรั่วมีค่าน้อย ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดความร้อนสะสมจนเกิดอัคคีภัยได้
  • ทำให้ทราบถึงวงจรและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน เอการแก้ไขปรับปรุงหรือซ่อมแซมบำรุงรักษาต่อไป

👷‍♀️เครื่องตัดไฟรั่วมีกี่ประเภท ?

มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการทำงาน ในทั่วโลกมาตรฐานอยู่หลายมาตรฐาน เช่น BS, DIN, JIS, IEC ซึ่งหากว่าตามมาตรฐาน IEC มีที่เกี่ยวข้องดังนี้

 

 

 

นอกจากที่แสดงประเภทของเครื่องตัดไฟรั่วโดยแบ่งตามคุณสมบัติของการมี หรือ ไม่มี การป้องกันกระแสเกิน ในมาตรฐานต่างประเทศยังมีเครื่องตัดไฟรั่วอีกหลายชนิด สำหรับประเทศไทยได้กำหนดไว้ในมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งใช้เรียกเป็นอีกอย่างหนึ่งว่า “เครื่องตัดวงจรกระแสเหลือ”

   โดย มอก. ได้กำหนดไว้สำหรับเครื่องตัดวงจรกระแสเหลือที่ใช้ในที่อยู่อาศัยและใช้ในลักษณะที่คล้ายกันออกเป็น แบบ คือ

  • เครื่องตัดวงจรกระแสเหลือแบบมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (Residual Current operated circuit Breakers with integral Overcurrent protection: RCBO) ตาม มอก. 909-2548 ซึ่งได้ออกแบบมาให้ทำหน้าที่ป้องกันทั้งกระแสโหลดเกิน และกระแสลัดวงจร
  • เครื่องตัดวงจรใช้กระแสเหลือแบบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (Residual Current operated circuit Breakers without integral overcurrent protection : RCCB)

การติดตั้ง การทดสอบ และการเลือกซื้อเครื่องตัดไฟรั่ว 🔌

⚙ เครื่องตัดไฟรั่วควรติดตั้งอย่างไร ?

  • เครื่องตัดไฟรั่วควรติดตั้งควบคู่กับระบบสายดิน เนื่องจากหากจะติดตั้งเฉพาะเครื่องตัดไฟรั่ว ไม่มีสายดิน เมื่อเกิดไฟรั่ว และมีคนไปสัมผัสถูกก็จะรู้สึกถึงการถูกไฟดูด ก่อนที่เครื่องตัดไฟรั่วจะทำงานตัดวงจร (อันตรายอาจจะเกิดขึ้นได้หากเครื่องตัดไฟรั่วไม่ทำงาน) ดังนั้นการมีระบบสายดินจึงมีความจำเป็นลำดับ ซึ่งคนจะปลอดภัยจากการแตะสัมผัสเครื่องไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วและจะไม่รู้สึกถึงการถูกไฟดูด
  • ตำแหน่งของการต่อลงดิน ต้องอยู่ก่อนด้านไฟเข้าของเครื่องตัดไฟรั่ว
  • ห้ามต่อวงจรลัดคร่อมผ่านหรือ By pass เครื่องตัดไฟรั่ว หรือหากเป็นเครื่องตัดไฟรั่วที่ปรับค่าได้และมีย่าน Direct หรือ By pass ห้ามตั้งค่าที่ย่านดังกล่าว เนื่องจากในสภาวะดังกล่าว หากมีกระแสไฟรั่ว เครื่องตัดไฟจะไม่ทำงานตัดไฟ เพราะไม่สามารถตรวจจับกระแสะรั่วได้ 

(หมายเหตุ : กรณีวงจรย่อยหลายวงจรที่ใช้สายนิวทรัลร่วมกันจะไม่สามรถติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วแบบแยกวงจรได้ กรณีดังกล่าวต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วแบบร่วมวงจรแทน)

👉 เครื่องตัดไฟรั่วมีคุณสมบัติอย่างไร ?

  • ต้องผลิตและผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน มอก.909 – 2548 สำหรับเครื่องตัดไฟรั่วแบบมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกิน หรือ มอก. 2425 – 2552 สำหรับเครื่องตัดไฟรั่วแบบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน
  • สำหรับการนำไปใช้แองกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าดูดต้องมีพิกัดกระแสไฟฟ้ารั่วที่กำหนดไม่เกิน 30 mA (มิลลิแอมแปร์) และระยะเวลาในการตัดกระแสไฟฟ้ารั่วภายใน 0.04 วินาที ที่เท่าของพิกัดกระแสไฟฟ้ารั่ว (150 mA) และไม่ทำงานเมื่อมีกระแสรั่วที่0.5 เท่าของพิกัดกระแสไฟฟ้ารั่ว
  • เครื่องตัดไฟรั่วต้องเป็นชนิดที่ปลดปลายสายไฟที่มีไฟทุกเส้นออกจากวงจรรวมทั้งสายนิวทรัล ยกเว้น สายนิวทรัลนั้นมีการต่อลงดินโดยตรงแล้ว

การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว เพื่อป้องกันวงจรย่อมมีความเสี่ยง แนะนำได้ กรณี คือ

  • กรณี ที่อยู่อาศัย ที่กำลังตั้งระบบไฟฟ้าใหม่สามารถซื้อตู้จ่ายไฟ (แผงเมนสวิตซ์) หรือตู้คอนซูเมอร์ (Consumer unit) เพื่อความสะดวกให้เลือกซื้อเครื่องตัดไฟรั่ว แบบที่เหมาะสมมาพร้อมกัน ส่วนกรณีเลือกซื้อเพื่อป้องกันกระแสไฟเกิน/ลัดวงจร และป้องกันไฟรั่วในวงจรได้ด้วย ควรเลือกซื้อเพื่อป้องกันกระแสไฟเกิน / ลัดวงจร และป้องกันไฟรั่วในวงจรได้ด้วย ควรเลือกซื้อเป็นแบบ RCBO แต่ถ้าซื้อ RCCB จะต้องใช้ร่วมกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ด้วย เพื่อให้วงจรย่อยนั้นมีการป้องกันกระแสไฟเกิน/ลัดวงจร

 

  • กรณีที่ ที่อยู่อาศัยที่มีไฟฟ้าใช้อยู่แล้ว ต้องการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพิ่มเติม ซึ่งหากไม่สามารถติดในแผงเมนสวิตช์ได้ แนะนำให้ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วในบริเวณใกล้แผงเมนสวิตช์ได้แนะนำให้ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วในบริเวณ ใกล้แผงเมนสวิตช์ (ต้นทางของวงจรที่มีความเสี่ยง)

ถ้าติดเครื่องตัดไฟรั่วไปแล้วป้องกันรวมทุกแผงวงจรที่แผงสวิตช์แล้ว ถือว่ามีการป้องการไฟรั่วแล้วหรือไม่ ?

การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วป้องกันรวมทุกวงจรที่แผงสวิตช์ หรืออาจจะเป็นเครื่องตัดไฟรั่วแบบสำเร็จ ที่มีขายตามท้องตลาดที่ใช้เป็นตัวเมนหหากได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมาย มอก. แล้ว ถือว่ามีการป้องกันอันตรายจากไฟรั่วแล้ว

การติดตั้งเครื่องตัดไฟตามรูป มีข้อดีคือ มีการป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วทุกวงจรในที่อยู่อาศัยแล้ว แต่มีข้อเสียคือ

  • หากเกิดไฟรั่ววงจรหนึ่งในบ้าน แล้วเครื่องตัดไฟรั่วทำงานตัดวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้าดับทั้งหลัง และไม่สามารถใช้ไฟได้ จนกว่าจะมีการแก้ไขจุดที่มีกระแสไฟรั่ว
  • จะพบปัญหาเครื่องตัดไฟบ่อย (เนื่องจากเครื่องตัดไฟรั่วคุมหลายวงจร) และจะก่อให้เกิดความรำคาญ
  • การหาจุดที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วเพื่อแก้ไขนั้น ทำได้ยากลำบาก และใช้เวลานานเนื่องจากมีหลายวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเครื่องตัดไฟรั่วตัดไฟ (ไฟดับทั้งบ้าน) ในช่วงกลางคืน
  • การติดตั้งเครื่องตัดไฟตัวเดียวเพื่อป้องกันทุกวงที่แผงเมนสวิตช์ ขนาดไม่เกิน 30 mA สามารถติดตั้งได้ แต่ในการใช้งานจะพบปัญหาเครื่องตัดไฟรั่วทำงาน (ไฟดับทั้งบ้าน) และตัดไฟบ่อย (เนื่องจากเครื่องตัดไฟรั่วทำงานป้องกันรวมกันทุกวงจร) รวมถึงก่อให้เกิดความรำคาญ ซึ่งหากไม่แก้ไขวงจรที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว ในบ้านจะไม่สามารถใช้ไฟได้ และหากแก้ไขไม่สำเร็จในที่สุดอาจจำเป็นต้องปลดเครื่องตัดไฟรั่วออก (ไม่แนะนำ เนื่องจากยังมีกระแสรั่วอยู่ในระบบไฟฟ้าภายในบ้าน อาจจะได้รับอันตรายได้) ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การเดินสายไฟ หรือการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกต้อง หรือ ไม่ถูกวิธี เป็นต้น ดังนั้นจึงแนะนำให้เครื่องตัดไฟรั่วเฉพาะวงจรที่จำเป็น หรือ มีความเสี่ยง เพื่อให้วงจรไฟฟ้าอื่น ๆ ในบ้านที่ไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว ยังคงสามารถใช้ไฟฟ้าได้ปกติ และนอกจากติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วป้องกันในวงจรย่อมที่มีความเสี่ยงแล้ว หากต้องการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วคุมทุกวงจรที่แผงเมนเพิ่มเติม ควรเลือกขนาดพิกัดกระแสรั่วมากกว่า 30 mA (100 mA, 300 mA และควรเป็นชนิดที่มีการหน่วงเวลาหรือ type S เพื่อไม่ให้มีการทำงานพร้อมกัน) จะช่วยเป็นมาตราการเสริมอีกชั้นหนึ่งในการป้องกันอัคคีภัย

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เครื่องตัดไฟรั่วที่อยู่สามารถทำงานได้ 

เราสามารถตรวจสอบได้อย่างไรว่า เครื่องตัดไฟที่ติดอยู่สามารถทำงานได้ เราสามารถตรวจสอบได้ดังนี้

  • ตรวจสอบว่ามีการติดตั้งเข้าสายที่ขั้วเครื่องตัดไฟรั่วอย่างถูกต้อง การต่อสายไม่ถูก จะทำให้เครื่องตัดไฟรั่วไม่ทำงาน ตำแหน่งของการต่อลงดินต้อง อยู่ก่อนด้านไฟเข้าของเครื่องตัดไฟรั่ว
  • ทดสอบการทำงานโดยการกดปุ่มทดสอบ ถ้าก้านสวิตช์ตกลงมาถือว่าทำงานได้ปรกติและควรตรวจเช็คอย่างน้อยปีละ ครั้งหรือตามที่ผู้ผลิตแนะนำ

 

 

  • สำหรับการตรวจสอบการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่วโดยวิธีว่าสามารถตัดไฟรั่วได้ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่สามารถตรวจจสอบไฟรั่วได้ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่สามารถตรวจสอบโดยใช้เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD Tester)


เมื่อเครื่องตัดไฟทำงานตัดไฟเราจะทำอย่างไรและตรวจสอบอย่างไร

เมื่อเครื่องตัดไฟรั่วทำงานตัดไฟเบื้องต้นให้ทดลองสับจ่ายไฟเครื่องตัดไฟรั่วนั้นอีกครึ่ง เพื่อตรวจดูว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นชั่วคราวจากสัญญาณรบกวนในระบบไฟฟ้าหรือความผิดปกติจากสภาพภายนอกอื่น ๆ หรือไม่หากเครื่องตัดไฟรั่วยังทำงานตัดไฟอีก แสดงว่ามีกระแสรั่ว หรือ ลัดวงจร (กรณีเป็น RCBO) เกิดขึ้นอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของวงจร จึงจำเป็นต้องตรวจสอบหาสาเหตุเพื่อหาทางแก้ปัญหาต่อไป และสามารถใช้ไฟได้ปกติ จึงแนะนำ ดังนี้

  • ตรวจว่าเครื่องตัดไฟรั่วที่ทำงานตัดไฟวงจรนั้น จ่ายไฟให้บริเวณใดบ้าง
  • สอบถามผู้เกี่ยวข้องในบริเวณที่ถูกตัดไฟ (ไฟดับ) ว่า ขณะเกิดเหตุมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรอยู่บ้าง
  • แจ้งให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อปิดหรืองดจ่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า (เช่น ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า ปิดสวิตช์ไฟ ) ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในบริเวณนั้น
  • สับจ่ายไฟเครื่องตัดเข้าปกติ และค่อย ๆ เสียบปลั๊กไฟ หรือเปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนหน้านี้ ทีละเรื่อง จนกว่าจะพบว่าเครื่องตัดไฟรั่วทำงานตัดไฟขณะที่จ่ายไฟเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องสุดท้ายที่เสียบปลั๊ก ซึ่งแสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องสุดท้ายนั้นไฟรั่ว  จากนั้นให้ถอดปลั๊กไฟเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นออกจากวงจร (ไม่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีไฟรั่ว)
  • แยกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบว่าออกจากวงจร แล้วจึงสามารถสับเครื่องตัดไฟรั่วเข้าและใช้ไฟฟ้าได้ตามปกติ และนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีไฟรั่วไปซ่อมแซม
  • หากไม่พบสาเหตุไฟรั่ว ที่เกิดจากสาเหตุเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่ง และเครื่องตัดไฟรั่วยังทำงานตัดไฟอยู่ อาจเกิดไฟรั่วสะสมจากตัวเครื่องใช้หลายตัว หรือสาเหตุอื่น ซึ่งควรต้องอาศัยเครื่องมือตรวจสอบพิเศษโดยช่างผู้มีความชำนาญ ให้ทำการงดใช้ไฟฟ้าในวงจรนั้นชั่วคราวจนกว่าจะแก่ไข้เสร็จ

   ** ข้อสังเกตเพิ่มเติม เครื่องตัดไฟรั่วที่ตัดไฟบ่อย นอกจากวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้ามีไฟรั่วตัดไฟนั้น มีเหตุการณ์ฝนฟ้าคะนอง ฟ้งร้อง ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ เกิดขึ้นในบริเวณนั้น

กรณีใดบ้างที่เครื่องตัดไฟรั่ว ไม่ทำงาน

  • กรณีที่มีการลัดวงจร คือสายไฟ (Line) และสายนิวทรัล (Neutral) แตะ สัมผัสโดยตรง กรณีนี้กระแสจะมีปริมาณสูงมาก อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (เซอร์กิตเบรกเกอร์) จะทำงาน เครื่องตัดไฟรั่วแบบ RCCB จะไม่ทำงาน เนื่องจากกระแสไหลกลับเท่ากัน (กระแสในสายเส้นไฟ และ นิวทรัล เท่านั้น)
  • กรณีการใช้ไฟเกินหรือเรียกว่า โอเวอร์โหลด ( Overload ) เช่น มีการต่อปลั๊กพ่วงเพื่อใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลาย ๆ เครื่อง และใช้ไฟเกินขนาดของปลั๊กพ่วงแต่แต่กระแสไม่ถึงพอที่จะทำให้เซอร์กิตหรือเครื่องตัดไฟรั่วแบบ RCBO ทำงานตัดลัดวงจร จนทำให้ปลั๊กพ่วงเกิดความร้อน
  • การต่อสายไฟเข้าเครื่องตัดไฟรั่วผิด หรือไม่ถูกต้องตามผู้ผลิตแนะนำ
  • การใช้เครื่องตัดไฟรั่วที่มีปุ่มปรับตั้งค่ากระแสรั่วได้ และมีย่าน Direct หรือ Bypass ซึ่งหากปรับตั้งไปที่ค่า Direct ดังกล่าว จะเป็นการจ่ายไฟโดยไม่ผ่านกลไกและวงจรเครื่องตัดไฟรั่ว ซึ่งจะทำให้เครื่องตัดไฟรั่วไม่ทำงานเมื่อเกิดกระแสรั่ว

การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วป้องกันวงจรเมน ก่อนเข้าเมนสวิตช์(เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์)ของบ้านที่มีระบบสายดิน



การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วสำหรับที่อยู่อาศัย มาตรฐานกำหนดให้ติดตั้งเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วในวงจรใดบ้าง

 เครื่องตัดไฟรั่ว ควรติดตั้งเพื่อป้องกันไฟรั่วสำหรับวงจรเฉพาะหรือวงจรที่มีความเสี่ยง ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เพื่อว่าหากภายในบ้านเกิดไฟรั่วขึ้นที่วงจรที่มีเครื่องตัดไฟอยู่ วงจรนั้นจะถูกตัดไฟออก (ไฟดับเฉพาะวงจร) และวงจรไฟฟ้าอื่นในบ้านยังมีไฟใช้ตามปกติ สำหรับมาตราฐานการติดตั้งกำหนดให้นอกจากติดตั้งสายดินแล้ว ต้องมีการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วในวงจร  (Cr. PEA การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)

ตารางแสดงการเปรียบมาตรฐาน ปี 2556 กับมาตรฐานใหม่ปี 2564


จากตารางการเปรียบเทียบมาตรฐาน จะแสดงให้เห็นความแตกต่าง ในข้อที่ เนื่องจากเดิมวงจรเต้ารับที่ติดตั้งในบริเวณชั้นล่าง รวมถึงระดับผิวดิน ที่อยู่ในพื้นที่ ที่ปรากฏว่าเคยมีน้ำท่วมถึงหรืออยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง  แต่มาตรฐานปี 2564 ได้มีการยกเลิกคำว่า ที่อยู่ในพื้นที่ ที่ปรากฏว่าเคยมีน้ำท่วมถึงหรืออยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง

การเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานในข้อ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะตามข้อกำหนดของการไฟฟ้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  และ การไฟฟ้านครหลวง มีกำหนดเรื่องนี้ไว้ก่อนที่มาตราฐานปี 2564 ยังไม่ออกมา ดังนี้

 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อ้างอิงเหมือนมาตรฐานฯ มาตั้งแต่ 1 ก.ย.2559 คือ วงจรเต้ารับในบริเวณชั้นล่าง (ชั้น 1) รวมถึงในบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน **ที่อยู่ในพื้นที่ที่ปรากฎว่าเคยมีน้ำท่วมถึงหรืออยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับทะเลปานกลาง (ความคิดเห็นส่วนตัว เพราะ กฟภ.มีพื้นที่ที่ผู้ใช้ไฟหลายลักษณะภูมิประเทศ เช่น บ้างพื้นที่อยู่ที่ต่ำ บ้างพื้นที่อยู่ที่ดอน หรือที่สูงบนเขา ดังนั้นจึงมีคำว่าต้องมีเหตุหรือเคยมีน้ำท่วมถึง จึงจะต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว)

การไฟฟ้านครหลวง อ้างอิงเหมือนมาตรฐานฯ เลย คือ วงจรเต้ารับในบริเวณชั้นล่าง (ชั้น 1) รวมถึงในบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน แต่ไม่มีคำว่า **ที่อยู่ในพื้นที่ที่ปรากฎว่าเคยมีน้ำท่วมถึงหรืออยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับทะเลปานกลาง (ความคิดเห็นส่วนตัว เพราะ กฟน.มีพื้นที่ที่ผู้ใช้ไฟ ใน 3 จังหวัด กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งสมัยน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ก็ปรากฎให้เห็นแล้วว่าน้ำท่วมทุกพื้นที่ ดังนั้น กฟน.จึงบังคับให้ผู้ใช้ไฟ ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วสำหรับเต้ารับชั้น 1 ทุกกรณี)

 

** ข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ก็เนื่องมาจากลักษณะพื้นที่ ที่แตกต่างกันออกไปทำให้มีข้อกำหนดบังคับใช้ต่างกัน เมื่อมาตรฐานใหม่ปี 2564 ออกมาใหม่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะเปลี่ยนแปลงข้อบังคับให้ ผู้ใช้ไฟติด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ♦  กองมาตรฐานระบบไฟฟ้า ฝ่ายวิศวกรรม, คู่มือ เครื่องตัดไฟรั่ว
                                      ♦  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, คู่มือ "รักชีวิต ติดตั้งสายดิน"

                                      ♦  ห้องไฟฟ้า, มาตรฐานการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว

 

 

                  Thank You Gif - IceGif

 



ผู้ตั้งกระทู้ Admin กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ :: วันที่ลงประกาศ 2022-05-20 16:47:30


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล