
ทำไมสายไฟฟ้าชนิดสาย CV ถึงมีแรงดันตกคร่อมในสายมากกว่าสายที่หุ้มฉนวน PVC | |
ทำไมสายไฟฟ้าชนิดสาย CV (ที่ผลิตตามมาตรฐาน IEC 60502-1) ถึงมีแรงดันตกคร่อมในสายมากกว่าสายที่หุ้มฉนวน PVC (ที่ผลิตตามมาตรฐาน มอก.11-2553 เช่น สาย IEC01, IEC10, NYY) ในกรณีที่จ่ายโหลดเต็มพิกัดการนำกระแสของสายไฟฟ้า ทั้งๆที่สายมีขนาดเท่ากัน ?
สาย CV เป็นสายที่ปัจจุบันผู้ออกแบบมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เพราะหากพิจารณาที่ขนาดพื้นที่หน้าตัดสายเท่ากัน สาย CV จะมีพิกัดการนำกระแสไฟฟ้าได้สูงกว่าสาย มอก.11 แต่ก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่จะต้องพิจารณาในการใช้งานของสาย CV อย่างเข้าใจ เช่น 1) หากใช้งานสาย CV ที่พิกัดใช้งานสูงสุดของพิกัดสาย ตามสเปคของผู้ผลิต อุณหภูมิของสายจะสูงขึ้นถึง 90องศาเซลเซียส ซึ่งหากมีการต่อสายเข้ากับอุปกรณ์หรือเบรเกอร์โดยตรงอาจจะทำให้เกิดความร้อนสะสมสูงจนทำให้เบรกเกอร์ทริปได้ ดังนั้นจึงจำเปิดต้องใช้พิกัดสาย CV ให้ต่ำกว่าพิกัดสายสูงสุดโดยประมาณ 70% ของพิกัดสายสูงสุด หรือหากจะใช้งานสาย CV เท่ากับพิกัดสูงสุดของสายก็ต้องพิจารณาต่อสายผ่านบัสบาร์แทน . 2) และเนื่องจากสาย CV เป็นสายที่หุ้มฉนวนเป็น XLPE ซึ่งมีคุณสมบัติการลามไฟ หากเกิดลัดวงจรที่สาย หรือเกิดไฟไหม้สาย ดังนั้นมาตรฐานจึงมีข้อกำหนดว่า หากเดินสาย CV บนรางเคเบิล ภายในอาคาร สาย CV ที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติต้านการลามไฟ ตามมาตรฐาน IEC 60332-3 Cat-C ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตบ้างรายยังมีการผลิตสาย CV ให้เลือกทั้งสองแบบคือแบบผ่านมาตรฐานการลามไฟและแบบไม่ผ่านตามมาตรฐานการลามไฟ (IEC 60332-3 Cat-C) จึงต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องกันด้วยนะ
| |
ผู้ตั้งกระทู้ Admin ![]() |