
การเลือกขนาดสายดินในกรณีต่างๆ | |
การเลือกขนาดสายดินในกรณีต่างๆ
1. กรณีโหลดทั่วไป - ให้เลือกขนาดสายดินจากขนาดเบรกเกอร์หรือฟิวส์ โดยดูจากตารางที่ 4.2 ของมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ของ วสท.
2. กรณีที่เป็นโหลดมอเตอร์ - ไม่ว่าจะเป็นปั้ม เครื่องปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ในลักษณะเดีววกัน ขนาดเบรกเกอร์หรือฟิวส์จะมีพิกัดสูง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เปิดวงจรตอนสตาร์ท และใช้สำหรับป้องกันกระแสลัดวงจร ดังนั้นการคิดขนาดสายดินต้องคิดตามขนาดการปรับตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกิน แทนที่จะคิดจากขนาดเบรเกอร์หรือฟิวส์ เช่น มอเตอร์มีขนาดกระแสพิกัด 90 แอมแปร์ ต้องใช้เบรเกอร์ขนาด 200 แอมแปร์ และสมมุติมีการติดตั้งโอเวอร์โหลดเพื่อป้องกันโหลดเกินที่มอเตอร์ 100 แอมแปร์ ขนาดสายดินจะคิดตาม 100A แทนที่จะคิดที่ 200A เป็นเกณฑ์ กรณีนี้ขนาดสายดินให้ใช้ขนาด 10 ตารางมิลลิเมตร ไม่จำเป็นต้องใช้ขนาด 16 ตารางมิลลิเมตร
3. กรณีที่มีปัญหาแรงดันตก - เมื่อมีปัญหาเรื่องแรงดันตก ให้เพิ่มขนาดสายดินตามขนาดสายเฟสที่เพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาแรงดันตก ในลูปวงจรของสายดิน หากเกิดกระแสลัดวงจรเกินขึ้น เพราะถ้าสายดินมีขนาดเล็กเกินไปจะทำให้ค่าความต้านทานในสายดินมีค่าสูงทำให้ในกรณีเกิดลัดวงจรกระแสที่ไหลผ่านสายดินจะมีค่าน้อยลง จนทำให้เบรกเกอร์หรือฟิวส์ทำงานตัดวงจรช้าลง (ดูตัวอย่างในรูปประกอบ)
| |
ผู้ตั้งกระทู้ Admin ![]() |