ReadyPlanet.com


ทำไม?? ′บลูแอลอีดี′ ควรได้รางวัล ′โนเบล′


 

 

 

 

ทำไม?? ′บลูแอลอีดี′ ควรได้รางวัล ′โนเบล′ 


 

 

        คำถามที่น่าสนใจก็คือว่า ทำไม บลู แอลอีดี ถึงได้รางวัลโนเบล แล้วแอลอีดีสีอื่นๆ ที่ค้น

พบกัน มานานแล้วถึงไม่มีรางวัลโนเบลให้?

 

             "แอลอีดี" โดยหลักการพื้นฐานก็คือ "สารกึ่งตัวนำ" หรือ เซมิคอนดักเตอร์ อย่างหนึ่ง

นั่นเอง แต่ถูกประกอบขึ้นมาให้สามารถปล่อยแสงออกมาได้เมื่อถูกกระตุ้นให้ทำงาน สารเคมีที่เป็น

ส่วนประกอบอยู่ในแอลอีดีที่แตกต่างกัน จะทำให้แอลอีดีมีสีสันแตกต่างกันออกไป   วิศวกรสร้าง

แอลอีดีขึ้นมาได้ครั้งแรกตั้งแต่ในทศวรรษ 1950 และ 1960 ในตอนนั้นนักวิทยาศาสตร์พัฒนาจน

แอลอีดีสามารถให้แสงได้ทุกสีตั้งแต่ อินฟาเรดไปจนถึงสีเขียว แต่พยายามอย่างไรก็ไม่สามารถ

ทำให้มีสีน้ำเงินออกมา"บลู แอลอีดี" ทำไม่ได้ เพราะในตอนนั้นสารเคมีและคริสตอลที่ต้องสร้าง

ขึ้นมาอย่างประณีตบรรจง ยังไม่สามารถสร้างได้ในห้องปฏิบัติการตอนนั้น"บลู แอลอีดี" จึงไม่เพียง

สร้างได้ยากเย็นแสนเข็นเท่านั้น ยังทรงคุณค่ามหาศาลอีกด้วย เนื่องจากมีแอลอีดีสีน้ำเงิน เราจึง

สามารถสร้างหลอดแอลอีดีที่ให้แสงสีขาวออกมาได้ และด้วยหลอดแอลอีดีแสงสีขาวดังกล่าวนี้

จึงก่อให้เกิดจอคอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน, จอโทรทัศน์ที่เป็นแอลอีดีขึ้น ตามด้วยหลอดไฟฟ้า   

แอลอีดี โดยที่ทั้งหมดนี้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดชนิดใดๆ ที่เคยคิดค้นกัน

มาก่อนหน้านี้ที่สิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่านั้น เนื่องจากหลอดแอลอีดีเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่ได้

รับมามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้เป็นแสงสว่าง เทียบกับหลอดทุกอย่างชนิดที่มีไส้ ซึ่งเปลี่ยน

พลังงานไฟฟ้าแค่ 4เปอร์เซ็นต์เท่านั้นให้เป็นแสงสว่าง นอกเหนือจากการประหยัดเงิน ประหยัดไฟ

แล้ว การกินไฟน้อยของแอลอีดีทำให้มีความเป็นไปได้ที่บรรดาคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ จะ

สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการส่องสว่างได้ยาวนานกว่า  หลอดแอลอีดียังทนทาน มีอายุ

การใช้งานนานถึง 100,000 ชั่วโมง เทียบกับ10,000 ชั่วโมง ของหลอดฟลูออเรสเซนต์แล้ว

มากกว่าหลายเท่าตัวหลอดไฟแอลอีดีที่ให้แสงสีขาว สามารถทำได้ง่ายจากบลูแอลอีดีวิศวกร

เพียงใช้บลูแอลอีดีเข้าไปกระตุ้นสารฟลูออเรสเซนต์ภายในหลอดให้กระจายออก ก็ทำให้แสง

สีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นแสงสีขาวได้แล้วแต่เพื่อสร้าง บลู แอลอีดี อิซามุ อากาซากิและ

อิโรชิ อามาโนะ ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยนาโงยา ต้องทำงานร่วมกันนานปีเพื่อหาวิธีสร้าง

กัลเลียม ไนไตรด์ คุณภาพสูงอันเป็นสารเคมีหลักที่ใช้ในการสร้างแสงสีน้ำเงิน ก่อนหน้านี้แอลอีดี

สีแดงและเขียว ใช้กัลเลียม ฟอสไฟด์ ซึ่งผลิตได้    ง่ายกว่าเป็นสารหลัก  นอกจากนั้นทั้งคู่ยังค้น

พบด้วยว่า จะใช้สารเคมีใดเพิ่มเข้าไปทำปฏิกิริยากับกัลเลียมไนไตรด์ เพื่อให้ได้สีน้ำเงินที่มี

ประสิทธิภาพออกมา ด้วยโครงสร้างกัลเลียม ไนไตรด์ อัลลอยที่ซ้อนกันเป็นหลายชั้นส่วน ชูจิ นา

กามูระ ซึ่งปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ทำงานเพียงลำพัง แต่พบ

วิธีทำกัลเลียม ไนไตรด์คุณภาพสูงและสารเคมีที่จะทำให้กัลเลียม ไนไตรด์เรืองแสงสีน้ำเงินออก

มาได้เช่นกัน นอกจากนั้นยังคิดค้นโครงสร้างกัลเลียม  ไนไตรด์ อัลลอยที่เป็นของตัวองขึ้นมาอีก

 

 

 

 

อ้างอิงจาก

(https://www.facebook.com/ElectricalRm/photos/a.422673381079401.115230.422449687768437/929557337057667/?

type=3&theater)


 



ผู้ตั้งกระทู้ admin :: วันที่ลงประกาศ 2016-03-19 11:43:29


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล