ReadyPlanet.com


มาทำความรู้จักท่อร้อยสายไฟกันเถอะ


 

 

 

 มาทำความรู้จักท่อร้อยสายไฟกันเถอะ

 

 

       ในการเดินสายไฟฟ้านั้น ถึงแม้ว่าฉนวนที่หุ้มสายไฟฟ้า จะมีความแข็งแรงทนทานพอ

สมควร แต่ว่ามันก็ยังไม่แข็งแรงพอที่จะทนต่อแรงกระแทกต่างๆ จากภายนอกได้ ดังนั้นเพื่อป้องกัน

สายไฟฟ้า ไม่ให้ได้รับความเสียหายและสามารถใช้งานได้ยาวนาน ในปัจจุบันจึงนิยมที่จะเดินสาย

ในท่อร้อยสายไฟประโยชน์ของการใช้ท่อสายไฟ มีดังนี้

 1) ป้องกันสายไฟฟ้าจากความเสียหายทางกายภาพ เช่น การถูกกระทบกระแทกจากของมีคม

หรือถูสารเคมี

2) ป้องกันอันตรายกับคนที่อาจจะไปแตะถูกสายไฟฟ้า เมื่อฉนวนของมันเสียหาย หรือมีการเสื่อม

สภาพ

3) สะดวกต่อการร้อยสาย และเปลี่ยนสายไฟฟ้าสายใหม่ เมื่อสายหมดอายุการใช้งาน

4) ท่อหรือรางสายไฟที่เป็นโลหะ จะต้องมีการต่อลงดิน ดังนั้น จะเป็นการป้องกันไฟฟ้าซ๊อตได้

5) สามารถป้องกันไฟไหม้ได้ เนื่องจากถ้าเกิดการลัดวงจรภายในท่อ ประกายไฟ หรือความร้อนจะ

ถูกจำกัดอยู่ภายในท่อท่อหรือรางสายไฟ ที่เรียกว่าRaceways นั้น คือ อุปกรณ์ซึ่งมีลักษณะเป็น

ท่อกลมหรือช่องสี่เหลี่ยมผิวในเรียบใช้ในการเดินสายไฟฟ้าโดยเฉพาะ เช่น ท่อร้อยสายไฟที่เป็น

โลหะ(RSC,IMC, EMTConduit), ท่ออโลหะ (PVC, HDPE Pipe) และ รางเดินสาย (Wire way

, PVC Duct)และรวมถึงท่อร้อยสายไฟแบบอ่อนที่ด้วย(Flexibleconduit)

 *** แต่ในบทความนี้จะนำเสนอแค่ท่อร้อยสายไฟที่ทำมาจากเหล็กเท่านั้นก่อนนะครับ ***

1. ท่อโลหะหนา (Rigid Steel Conduit : RSC)ท่อโลหะหนา หรือ ท่อ RSC เป็นท่อที่มีความแข็ง

แรงที่สุดสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี ท่อชนิดนี้ถ้าทำมาจากเหล็กกล้า และส่วนใหญ่จะ

ผ่านขบวนการชุบด้วยสังกะสี (Galvanized) ซึ่งจะช่วยป้องกันสนิมได้อย่างดี

- สถานที่ใช้งาน : ใช้ได้ทั้งภายในภายนอกอาคาร ฝังผนัง ฝังใต้พื้น เดินลอยได้สามารถฝังดินได้

การต่อท่อจะใช้วิธีทำเกลียวเท่านั้น

- ขนาดมาตรฐาน : ½”, ¾”, 1”,1 ¼”, 1 ½”, 2”, 2 ½”, 3”, 3 ½”, 4”, 5” และ 6” (นิ้ว) โดยมีความ

ยาวท่อนละ10 ฟุต หรือประมาณ 3 เมตร (3.05 เมตร)

- ข้อสังเกตตัวอักษรที่อยู่บนท่อมักจะเป็นสีดำ

 

2. ท่อโลหะหนาปานกลาง (Intermediate Metal Conduit : IMC)ท่อโลหะหนาปานกลาง หรือ ท่อ

IMCเป็นท่อที่มีความหนา น้อยกว่าท่อ RSC แต่สามารถใช้แทนท่อ RSC ได้ และมีราคาถูกกว่า

- สถานที่ใช้งาน : ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ฝังผนัง ฝังใต้พื้น เดินลอยได้ ใช้งานได้

เหมือนท่อRSC แต่ความสามารถในการรับแรงกระทำทางกลน้อยกว่าจึงไม่ควรใช้ฝังใต้ถนนหรือ

จุดที่ต้องรับแรงกดแรงบิดสูง

- ขนาดมาตรฐาน : ½”, ¾”, 1”,1 ¼”, 1 ½”, 2”, 2 ½”, 3”, 3 ½” และ 4” (นิ้ว) โดยมีความยาวท่อน

ละ 10 ฟุตหรือประมาณ 3 เมตร (3.05 เมตร)

- ข้อสังเกตตัวอักษรที่อยู่บนท่อมักจะเป็นสีแดง

 

3. ท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing : EMT)ท่อโลหะบาง หรือ ท่อ EMT เป็นท่อที่มีความ

หนาน้อยกว่าท่อ RSC และ ท่อ IMC ท่อร้อยสายไฟฟ้าชนิดนี้เป็นที่นิยมกันมากเพราะราคาต่ำกว่า

สองชนิดข้างบนแต่ในการใช้งานนั้นนอกจากจะคำนึงถึงต้นทุนแล้วต้องคำนึงถึงสภาพการใช้งาน

ของท่อร้อยสายไฟฟ้าต้องเหมาะสม

- สถานที่ใช้งาน : สามารถฝังผนังอิฐก่อหรือฉาบปูนได้แต่ห้ามฝังในผนังแบบหล่อ (ผนังคอนกรีตที่

มีการขึ้นแบบแล้วเทคอนกรีตลงในแบบ ), ห้ามใช้ท่อชนิดนี้ฝังดิน, ห้ามใช้กับไฟฟ้าแรงสูง และ

ห้ามทำเกลียวกับท่อชนิดนี้ให้ต่อด้วยคัปปริงหรือคอนเนคเตอร์

- ขนาดมาตรฐาน : ½”, ¾”, 1”, 1 ¼”, 1 ½” และ 2”(นิ้ว) โดยมีความยาวท่อนละ 10 ฟุต หรือ

ประมาณ เมตร(3.05 เมตร)

- ข้อสังเกตตัวอักษรที่อยู่บนท่อมักจะเป็นสีเขียวหรือสีฟ้า

 

4. ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit : FMC)ท่อโลหะอ่อนทำมาจากเหล็กกล้าชุบสังกะสี ใน

ลักษณะที่มีความอ่อนตัวสูง สามารถโค้งงอได้ (ภาษาช่างทั่วๆไปเรียกท่อเฟลก) มีทั้งแบบที่ใช้

ภายในอาคารและภายนอกอาคาร

- ท่อโลหะอ่อน ใช้เดินในสถานที่แห้งและเข้าถึงได้ ห้ามใช้เดินในสถานที่เปียก , ในช่องขึ้นลง ,

ในห้องเก็บแบตเตอรี่ , ในสถานที่อันตราย , ฝังดินหรือฝังในคอนกรีต ท่อโลหะอ่อนที่ใช้ต้องมี

ขนาดไม่เล็กกว่า 1/2"ยกเว้นท่อโลหะอ่อนที่ประกอบมากับขั้วหลอดไฟฟ้า และมีความยาวไม่เกิน

180 เซนติเมตร การจับยึดท่อชนิดนี้ต้องมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ไม่เกิน 1.50 เมตร และห่างจาก

กล่องต่อสาย ไม่เกิน 30 เซนติเมตรและห้ามใช้ท่อโลหะอ่อนเป็นตัวนำ แทนสายดิน

- ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ เป็นท่อโลหะอ่อนที่มีเปลือก PVC หุ้มด้านนอกเพื่อกันความชื้น ไม่ให้เข้าไป

ภายในท่อได้ ใช้งานในบริเวณที่ต้องการความอ่อนตัวของท่อเพื่อป้องกันสายไฟฟ้า ชำรุด จากไอ

ของเหลวหรือของแข็งหรือในที่อันตราย ห้ามใช้ในบริเวณที่อุณหภูมิใช้งานของสายไฟฟ้าสูงมาก

จนทำให้ท่อเสียหาย

- ขนาดมาตรฐาน : ½”, ¾”, 1”,1 ¼”, 1 ½”, 2”, 2 ½”,3” และ 4 ” (นิ้ว) โดยมีความยาวตั้งแต่ 10 -

200 เมตรต่อขด ขึ้นอยู่กับขนาดท่อ

  

                            

อ้างอิงจาก

(https://www.facebook.com/ElectricalRm/photos/a.422673381079401.115230.422449687768437/659066944106709/?

type=3&theater)



ผู้ตั้งกระทู้ admin :: วันที่ลงประกาศ 2016-03-19 10:58:47


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล