ReadyPlanet.com


มาทำความรู้จักเครื่องหมาย มอก. (TIS) กันเถอะ


เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

 

 

 

 

 มาทำความรู้จักเครื่องหมาย มอก. (TIS) กันเถอะ

 

 

         ในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้น ผู้รับรองจะมีการออกใบรับรอง และให้แสดงเครื่องหมาย

รับรองโดยในส่วนของประเทศไทยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรืสมอ.ผลิตภัณฑ์

ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองจาก

สมอ. แล้วว่ามีคุณภาพ ได้มาตรฐานที่กำหนด มีความปลอดภัยในการอุปโภค บริโภค มี

ประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพสมราคา ปัจจุบัน สมอ.ได้อนุญาตในแสดงเครื่องหมาย

มอก.กับผลิตภัณฑ์ 6เครื่องหมายคือ(ในรูปประกอบเรียงจากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง)

 1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป (จะไม่มีวงกลม) เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่

สมอ.กำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้นไว้แล้วซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองคุณภาพโดย

สมัครใจ(มาตรฐานทั่วไป)เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดใน

มาตรฐานและหลัก ประกันให้กับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพ มีความปลอดภัยคุ้ม

ค่าและเหมาะสมกับราคา เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารวัสดุก่อสร้างวัสดุสำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

 2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ (จะมีวงกลม) เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมาย

กำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ บริโภคและ

ป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดต่อเศรษฐกิจและ สังคม โดยส่วนรวม โดยกฎหมายบังคับผู้ผลิต

ผู้นำเข้าและผู้ จำหน่าย จะต้องผลิต นำเข้า และจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไป ตามมาตรฐานแล้ว

เท่านั้น ซึ่งจะต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ติดแสดงไว้ทุกหน่วยเพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้น ได้

ผ่านการตรวจสอบรับรองแล้วตามกฎหมาย เช่น ไม้ขีดไฟ สายไฟฟ้า บัลลาสต์ ผงซักฟอก

ท่อพีวีซี ผลิตภัณฑ์ เหล็ก ถังดับเพลิง ของเล่นเด็ก หมวกกันน๊อค เป็นต้น

 3. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่ต้องมี

ความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งสำนักงานฯ จะกำหนดมาตรฐานโดยเน้นเฉพาะเรื่องความปลอดภัย

เป็นสำคัญเพื่อให้การคุ้มครองแก่ ผู้บริโภคด้านความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น เตารีด พัดลม

ไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องหมายที่มีทั้งแบบบังคม และไม่บังคับหากเป็นแบบ บังคับก็ต้องปฏิบัติตาม

กฎหมายที่ต้องทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตาม มาตรฐานที่ กำหนดทั้งผู้ทำ ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย

 4. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่มี

คุณสมบัติใน การรักษาสิ่งแวดล้อม เช่นการประหยัดน้ำและการไม่ก่อให้เกิด มลพิษในอากาศเพื่อ

พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศ เช่น เครื่อง

ซักผ้า ประหยัด น้ำ ตู้เย็นที่ไม่ใช้สาร CFC เป็นต้น เครื่องหมายนี้มีทั้งแบบบังคับ และไม่บังคับหาก

เป็นแบบบังคับก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ ต้อง ทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ทั้งผู้

ทำ ผู้นำเข้า และ ผู้จำหน่าย

5. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นเครื่องหมาย

รับรองผลิต ภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติของความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่

สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นหรือใช้พร้อมกันได้และไม่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ในระดับ

หนึ่ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โทรศัพท์โทรสาร เครื่องรับ-ส่งวิทยุและเครื่อง

มือทางการแพทย์ เป็นต้นเครื่องหมายนี้มีทั้งแบบบังคับ และไม่บังคับหากเป็นมาตรฐานบังคับ ผู้

ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ จำหน่ายจะต้องผลิตนำเข้า และจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้ มาตรฐานเท่านั้น

6. เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์

ชุมชน(มผช.) นั้นผู้รับรอง คือ สำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จะเป็นผู้ให้การ

รับรอง โดยจะมีเงื่อนไขการรับรอง ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และต่างจากการให้การรับรองเครื่องหมาย

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของสมอ. จะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)ดังภาพด้านบน

ไว้ที่ผลิตภัณฑ์

 

 

อ้างอิงจาก 

(https://www.facebook.com/ElectricalRm/photos/a.422673381079401.115230.422449687768437/650380624975341/?

type=3&theater)



ผู้ตั้งกระทู้ admin :: วันที่ลงประกาศ 2016-03-19 10:43:00


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล