ReadyPlanet.com


พิกัดกระแสของ circuit breaker ที่ควรรู้จักมี 3 ตัวคือ??


 

(1)              Ampere Trip (AT) เป็นพิกัดกระแส handle rating ซึ่งบอกให้รู้ว่าสามารถทนกระแสใช้งานในภาวะปกติได้สูงสุดเท่าใด มักแสดงค่าไว้ที่ name plate หรือด้านโยกของเบรกเกรอร์ ที่มาตรฐานขงอ NEC1990 paragraph 240-6 กำหนดดังนี้ 15 , 60 , 70 , 80 , 90 , 100 , 110 , 125 , 150 , 175 , 200 , 225 , 250 , 300 , 350 , 400 , 450 , 600 , 700 , 800 , 1000 , 1200 , 1600 , 2000 , 2500 , 3000 , 4000 , 5000 , 6000 A. ในกรณีที่ขนาดอุปกรณ์ของผู้ผลิตบางรายไม่มีค่าตรงกับค่าที่กำหนด ก็สามารถเลือกใช้ค่าที่สูงขึ้นไปแทนได้ สิ่งควรรู้เพิ่มเติมก็คือ พิกัดการทนกระแสของเบรกเกอร์ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

·       Standard circuit breaker ในที่นี้หมายถึงชนิด thermal magnetic ซึ่งถ้านำเอาเบรกเกอร์ชนิดนี้ไปใช้กับโหลดต่อเนื่องจะปลดวงจรที่ 80% ของพิกัดกระแสเบรกเกอร์

·       100 % rate circuit breaker แบบนี้ถ้านำไปใช้กับโหลดต่อเนื่อง จะตัดวงจรที่พิกัดกระแสของเบรกเกอร์ แต่จะมีเฉพาะสินค้าของอเมริกาเท่านั้น

(2)              Ampere Frame (AF) พิกัดกะแสโครง ซึ่งหมายถึงพิกัดการทนกระแสสูงสุดของเบรกเกอร์ในรุ่นนั้นๆ Ampere Frame มีประโยชน์คือ สามารถเปลี่ยนพิกัด Ampere trip ได้โดยที่ขนาด (มิติ) ของเบรกเกอร์ยังคงเท่าเดิม ค่า AF ตามมาตรฐาน NEMA มีดังนี้ 50 , 100 , 225 , 250 , 400 , 600 , 800 , 1000 , 1200 , 1600 , 2000 , 2500 , 4000 , 5000 AF

(3)              Interrupting Capacity (IC) เป็นพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรกเกอร์นั้นๆ โดยปกติกำหนดค่าการทนกระแสเป็น KA ค่า IC จะบอกให้รู้ว่าเบรกเกอร์ที่ใช้นั้นมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด การเลือกค่ากระแส IC จะต้องรู้ค่ากระแสพิกัด ณ จุดนั้นๆ เสียก่อนตามาตรฐาน IEC947-2 แล้วสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภท

1)       Icu หรือ Icn (Rated short-circuit breaking capacity) หมายถึงพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรกเกอร์ตามมารตรฐานแล้วจะระบุเป็นค่า r.m.s ของกระแสไฟสลับ โดยถือว่าส่วนประกอบ กระแสตรง (ค่า DC. Transient) เป็นศูนย์ พิกัดกระแสดังกล่าวในภาคอุตสาหกรรมเรียกว่า ค่า Icu (Rated ultimate s.c. breaking capacity) ส่วนภาคที่อยู่อาศัยเรียกว่า Icn ปกติจะมีหน่อยเป็น KA r.m.s. การทดสอบค่า Icu หรือ Icn ตามมาตรฐาน IEC มี 3 ลักษณะคือ

·       Operating sequences (open-close/open) คือการทดสอบการทนกระแสลัดวงจร โดยทำการปิดและเปิดวงจรของเบรกเกอร์ขณะมีกระแสลัดวงจร

·       Current and voltage phase displacement คือการทดสอบการทนกระแสวงจรที่ค่า Power factor ต่างๆ กัน ซึ่งพบว่า ถ้า Power factor = 1 จะปลดวงจรง่ายกว่า และถ้า Power factor มีค่าต่ำเท่าใดการปลดวงจรยิ่งทำได้ยากเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่า ระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็น lagging power factor และยิ่งมีกระแสลัดวงจรสูงเท่าใด (อยู่ใกล้ generator หรือหม้อแปลงขนาดใหญ่) ค่า Power factor ก็ยิ่งต่ำลง

·       Dielectric withstand capability คือการทดสอบความเป็นฉนวนของโครง (case) ของเบรกเกอร์ หลังจากการ short-circuit ไปแล้วว่ายังคงสภาพการเป็นฉนวนอยู่หรือไม่

2)       Icm (Rated making capacity) หมายถึงพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดที่เป็น peak current ที่เบรกเกอร์สามารถทนได้ และทำการปลดวงจรแบบทันทีทันใด (instantaneous) โดยไม่มีการหน่วงเวลาที่แรงดันพิกัด (rate voltage) ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในระบบไฟฟ้า กระแสสลับ ค่ากระแส peak มีความสัมพันธ์กับค่า Icu ด้วยตัวคูณ (k factor) ซึ่งต่างกันไปตามค่า Power factor ของกระแสลัดวงจร ดังนี้

·       (Icu) มากกว่า 6KA ถึง 10KA -> (power factor) = 0.5 -> (Icm) = 1.7xlcu

·       (Icu) มากกว่า 10KA ถึง 20KA -> (power factor) = 0.3 -> (Icm) = 2xlcu

·       (ICU) มากกว่า 20KA ถึง 50KA -> (power factor) = 0.25 -> (Icm) = 2.1xlcu

·       (Icu) มากกว่า 50KA -> (power factor) = 0.2 -> (Icm) = 2.2xlcu

3)        Icw (Rated short-time withstand current) ค่านี้ขึ้นอยู่กับประเภท switchgear แรงต่ำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

1.ชนิด A คือระบบ switchgear ที่ไม่มีความต้องการให้มีการหน่วงเวลาในการทำงานของอุปกรณ์ magnetic trip (เป็นการปลดวงจรโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็ก) ได้แก่ molded case circuit breaker ทั่วไป ดังนั้น molded case CB. จึงไม่มีค่า lcw

2.ชนิด B คือระบบ switchgear ที่สามารถหน่วงเวลาในการปลดวงจรได้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทำการปลดวงจรเป็นลำดับขั้น (discriminaton) ในระบบ โดยเบรกเกอร์ตัวที่อยู่ใกล้กระแสลัดวงจรที่สุดควรปลดวงจรก่อน ดังนั้นตัวที่อยู่ถัดไป (โดยเฉพาะตัว main) ต้องทนกระแสลัดวงจรซึ่งสูงกว่าและเป็นเวลาที่นานกว่าได้โดยตัวมันเองไม่ปลดวงจรและไม่เสียหาย ค่าพิกัดและกระแสการลดวงจรสูงสุดที่เบรกเกอร์แบบ electronictrip เช่น Air circuit breaker หรือ molded case ประเภท heavyduty กล่าวโดยสรุป Icw คือค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดสำหรับเบรคเกอร์เชนิด B ที่สามารถทนได้ทั้งผลทางด้านอุณหภูมิ , ความเค้นและ ความเครียดจากสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นโดยตัวมันเองไม่เสียหายในช่วงเวลาหนึ่ง ตามที่โรงงานผลิตระบุ

    4)    Ics (Rated service short short-circuit breaking capacity) เป็นค่าที่บอกให้รู้ว่าเมื่อเบรกเกอร์ปลดวงจรหลังจากเกิดการลัดวงจรครั้งแรกแล้ว เบรกเกอร์ตัวนั้นจะสามารถทนกระแสลัดวงจร ในครั้งถัดไปได้เท่าเดิมหรือไม่โดยเทียบกับค่า Icu โดยระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่า Icu เช่น 25 , 50 , 75 และ 100% เช่นเบรกเกอร์ตัวหนึ่งระบุค่า Ics = 0.5 Icu หมายความว่าเมื่อเบรกเกอร์ปลดวงจรหลังจากเกิดการลัดวงจรครั้งแรกแล้ว เบรกเกอร์ตัวนั้นจะสามารถทนกระแสลัดวงจร ในครั้งถัดไปได้เท่ากับ 50% ของ Icu

 

แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล