ReadyPlanet.com


ทำไมต้องต่อนิวทรัลที่ MDB ลงดินอีก ทั้งๆที่นิวทรัลของหม้อแปลงก็ต่อลงดินแล้ว


ทำไมต้องต่อนิวทรัลที่ MDB ลงดินอีก ทั้งๆที่นิวทรัลของหม้อแปลงก็ต่อลงดินแล้ว

    มาตรฐานการติดตั้งระบบการต่อลงดินของนิวทรัลของหม้อแปลงและ MDB หากมองในวงจรไฟฟ้าจุดที่เป็นนิวทรัลของหม้อแปลงและจุดที่เป็นนิวทรัลของ MDB มันคือจุดเดียวกันหรือ Node เดียวกัน แล้วทำไมมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ของ วสท. จึงกำหนดให้ต่อนิวทรัลของหม้อแปลง และ MDB แยกทั้งสองจุด ในกรณีที่หม้อแปลงติดตั้งนอกอาคารเป็นเพราะในระบบวงจรไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย เมื่อมีการจ่ายโหลดที่ไม่สมดุลหรือไม่เท่ากันในแต่ละเฟส จะทำให้มีกระแส ไฟฟ้า (In) ไหลกลับหม้อแปลงผ่านทางสายนิวทรัล ซึ่งในสายนิวทรัลก็จะมีค่าความต้านทานค่าหนึ่งซึ่งอาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดและความยาวของสายจากหม้อแปลงไป MDB และกระแสที่ไหลผ่านนิวทรัลนี้ จะทำให้เกิิดแรงดันตกคร่อมสายนิวทรัลและที่ MDB นิวทรัลจะต่อฝากกับสายดินและสายดินจะต่อไปที่โครงหรือเปลือกของอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมถึงโครงของตู้ MDB ด้วย ดังนั้น ห่ากสายนิวทรัลมีแรงดันตกคร่อมเกิดขึ้นก็เท่ากับว่่าโครงของตู้และสายดินจะมีแรงดันไม่เท่ากับศูนย์ คือ จะมีแรงดันที่โครงตู้เท่ากับ Vg = InxRn ซึ่งตามมาตรฐาน IEC กำหนดไว้ว่าแรงดันที่สูงเกิน 50 โวลต์ ซึ่ถือเป็นอันตรายกับผู้ที่ไปสัมผัส

 

 

 

    อาจจะด้วยเหตุผลนี้ มาตรฐานฯเลยเขียนโดยรวมว่าหากหม้อแปลงอยู่นอกอาคารจะต้องต่อนิวทรัลที่หม้อแปลงเพิ่มอีกจุดนอกจากที่ MDB ที่ต่อลงดินอยู่แล้ว เพราะมองว่าหากอยู่ภายนอกหม้อแปลงและ MDB จะอยู่ไกลกัน ไม่เหมือนหม้อแปลงที่ติดตั้งในห้อง ซึ่งปกติจะอยู่ใกล้กันกับ MDB ทำให้สายนิวทรัลจากหม้อแปลงไป MDB ไม่ไกลมากค่าความต้านทานของสายก็ไม่สูง ดังนั้นจึงทำให้แรงดันตกคร่อมสายนิวทรัลน้อยกว่าแบบที่หม้อแปลงอยู่ภายนอก ดังนั้นในกรณีที่หม้อแปลงติดตั้งภายนอกอาคารมาตรฐานเลยกำหนดให้ต่อนิวทรัลทั้งฝั้งหม้อแปลงและที่ MDB ลงกราวด์ทั้งสองจุด ซึ่งการต่อนิวทรัลลงดินที่ตู้ MDB เพิ่มอีกจุดนอกจากที่หม้อแปลง จะทำให้มั่นใจได้ว่านิวทรัลที่ MDB มีแรงดันไฟฟ้าเทียบดินเท่ากับ 0V ทำให้สายดินและโครงหรือเปลือกของอุปกรณ์ไฟฟ้ามีแรงดันมีแรงดันไม่สูงจนเป็นอันตรายนั้นเอง


 

---------------------------------------------------------

อ้างอิง มาตรฐาน วสท. หน้า 4-2 ข้อ 4.3.1

 

    4.3 การต่อลงดินของระบบประธาน

 4.3.1. ระบบไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าที่ต้องต่อลงดิน จะต้องต่อลงดินที่บริภัณฑ์ประธานแต่ละชุด จุดต่อลงดินต้องอยู่ในจุดที่เข้าถึงสะดวกที่ปลายตัวนำประธาน หรือบัส หรือขั้วต่อที่ต่อกับตัวนำนิวทรัลของตัวนำประธานภายในบริภัณฑ์ประธาน ในกรณีหม้อแปลงไฟฟ้าติดตั้งภายนอกอาคารจะต้องต่อลงดินเพิ่มอีกอย่างน้อย 1 จุด ทางด้านไฟออกของหม้อแปลง ณ จุดที่ติดตั้งหม้อแปลงหรือจุดอื่นที่เหมาะสม ห้ามต่อลงดินที่จุดอื่นๆ อีกทางด้านไฟออกของบริภัณฑ์ประธาน

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ Admin กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ :: วันที่ลงประกาศ 2019-11-22 16:30:50


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล