ReadyPlanet.com


เคยสงสัยไหม ว่าหากกระแสไฟรั่วลงดินแล้วมันไหลกลับบไปแหล่งจ่ายไฟหรือหม้อแปลงได้อย่างไร


 

 

เคยสงสัยไหมว่า .....หากกระแสไฟรั่วลงดินแล้วมันไหลกลับไปแหล่งจ่ายไฟหรือหม้อแปลงได้อย่างไร ทั้งๆที่ระยะทางมันไกลมาก ดินมีความต้านทานสูงกว่าสายไฟ แล้วค่าความต้านดินมันจะสูงแค่ไหนกันนะ ?

 

หากเราพิจารณาดินเป็นก้อนๆ ที่หุ้มหลักดินไว้ และแบ่งออกเป็นชั้นๆ สามารถเขียนวงจรสมมูลของความต้านทานดินได้ตามรูป หากพิจารณาค่าความต้านดินแต่ละชุดเท่ากันทั้งหมด จะเห็นว่าที่ชั้นนอกไกลๆ จะมีความต้านทานดินเสมือนกับต่อขนานกันอยู่จำนวนมาก และชั้นที่ใกล้หลักดินก็จะขนานกันน้อยลง และเมื่อเอาความต้านทานดินแต่ละชั้นมารวมกันก็จะได้เป็นความต้านทานของหลักดิน และลองสังเกตที่ชั้นไกลๆ คือความต้านทานต่อขนานกันมากๆ ตามกฎของโอห์ม ความต้านทาน ที่ขนานกันก็จะลดลงเป็นจำนวนความต้านทานที่มาขนานกันหารความต้านทานของแต่ละตัว ดังนั้นที่ระยะทางไกลๆจากหลักดินไปแล้ว จะทำให้ค่าความต้านทานต่ำมากจนแทบจะเป็น 0 โอห์ม ซึ่งระยะนี้เรียกว่า Remote earth หรือ Common Earth (ดินระยะไกล) เมื่อเป็นเช่นนี้ หากเราวัดค่าความต้านทานของหลักดินที่เราปักลงไปได้ 5 โอห์ม ทั้งด้านแหล่งจ่ายและด้านโหลด แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน ความต้านดินวงจรก็จะเท่ากับ 5+5 = 10 โอห์มเท่านั้น 

 

ดินระยะไกล (Remote Earth)

IEEE std. C62.23-1995 ได้ให้ความหมายของ Remote Earth คือ “ตำแหน่งที่อยู่ภายนอกอิทธพลหลักดิน โดยอนุมานให้มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์”

 

IEEE std. 367-1996 ได้ให้ความหมายของ Remote Earth ว่าคือ “จุดที่ไกลออกไปบนผิวดินซึ่งเมื่อเพิ่มระยะห่างจากหลักดินแล้วค่าอิมพีแดนซ์ที่วัดได้ระหว่างหลักดินกับจุดซึ่งไกลออกไปนั้น ไม่มีค่าเพิ่มขึ้น”



ผู้ตั้งกระทู้ admin :: วันที่ลงประกาศ 2019-08-26 11:46:52


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล