ReadyPlanet.com


มอก. ปลั๊กพ่วง กำหนดใช้ 24-02-2561


 มาดู มอก. ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุด มอก.2432-2555 กำหนดใช้ 24 กุมภาพันธ์ 2561

                สวัสดีค่ะ เพื่อไม่ให้เสียเวลา เรามาเข้าสู่ข้อมูลกันเลยว่า มอก. ปลั๊กพ่วงฉบับที่ล่าสุด ที่จะบังคับใช้ในวันที่ 24-02-61 นั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง โทยทางปลั๊กไทยดอทคอมนั้นจะย่อเนื้อหาเพื่อให้เข้าใจได้กระชับและสั้นที่สุด

            สำหรับก่อนหน้านี้ที่เราใช้ ๆ กันมา “ปลั๊กพ่วงยังไม่มี มอก. บังคับใช้นะครับ” ที่เราเห็นแปะสัญลักษณ์ มอก.ตามห้างนั้น ก็อ้างอิง มอก. สายไฟบ้าง มอก.เต้าเสียบบ้าง มอก.สวิทซ์บ้าง แต่ในลักษณะของ มอก.ที่ควบคุมตัวปลั๊กทั้งรางนั้นยังไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์

 

ที่นี้มาเริ่มในส่วนของเรื่อง มอก. ฉบับนี้เลยครับที่ผู้บริโภคสังเกตเห็นได้และควรต้องรู้ไว้บ้าง

1.            มอก. ฉบับนี้บังคับใช้กับปลั๊กพ่วงแบบหยิบยกได้ รวมถึงชุดสายพ่วง

2.            ขอบข่ายการใช้คือ มากกว่า 50V แต่ไม่ถึง 440V และขอบข่ายของแอมแปร์ห้ามมากกว่า 16A สำหรับการใช้งานภายในและภายนอกอาคาร

3.            มาตรฐานการใช้งานปลั๊กพ่วงคือ อุณหภูมิภายนอกห้ามเกิน 40 องศาเซลเซียส และการใช้งาน 24 ชั่วโมง อุณหภูมิเฉลี่ยโดยรอบห้ามเกิน 35 องศาเซลเซียส

ตัวอย่างล้อม้วนสายที่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน

4.            กำหนดให้หัวปลั๊กต้องใช้เป้นแบบ 3 ขา มอก. 166-2549 เท่านั้น

5.            ตัวบอดี้ จะต้องเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ หรือใส่สารกันลุกติดลามไฟ

6.            ตัวเต้ารับจะต้องสอดดคล้องกับ มอก. 166-2549 และมีม่านชัทเตอร์ปิดทุกเต้ารับ (แบบในรูป)

7.            ปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับตั้งแต่ 3 เต้าขึ้นไป จะต้องมีตัวตัดไฟ อาจจะแบบ RCBO หรือระบบ Thermal โดยห้ามใช้ระบบฟิวส์

 

8.            สายไฟ สามารถใช้มาตรฐาน มอก.11-2553 หรือ มาตรฐานอื่นที่สอดคล้องกับ มอก.955 ได้

9.            เต้ารับทุกเต้าจะต้องมีส่วนที่สัมผัสลงดินจริง ห้าม! ทำกราวหรอดอีกต่อไป

10.    พื้นที่หน้าตัดไฟ และความยาว การรับรองไฟ ต้องเป็นไฟตามมาตรฐานตารางด้านล่าง

กระแสไฟฟ้าที่กำหนด A

สายไฟอ่อนแบบใช้งานเบาที่สุด

พื้นที่หน้าตัดระบุต่ำสุด mm²

ความยาวสูงสุด สำหรับสายไฟฟ้าอ่อน

 

10

60227 IEC 53

หรือ

60245 IEC 53

0.75

5

1.0

30

 

16

60227 IEC 53

หรือ

60245 IEC 53

1.0

2

1.5

30

 

11.    การเชื่อมต่อ L-N และ G ต้องเป้นไปตามมาตรฐานของประเทศไทย

12.    ถ้ามีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้าง เช่น สวิทซ์ ตัวกรองความถี่ อุปกรณ์กันแรงดันเกิน ควรได้มาตรฐานผลิคภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้วย

 

จริงๆ ระเบียบของ มอก.ปลั๊กพ่วงจะมีข้อมูลมากกว่านี้ โดยเฉพาะขั้นตอนการทดสอบ แต่ในฐานะผู้บริโภคนั้น รู้เพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้วนะ

หลักๆ ก็คือ “ปลั๊กที่ใช้ฟิวส์ที่ใช้ขา 2 ขา แบบที่เราคุ้นตา” ปีหน้าเขาห้ามผลิตเพิ่มแล้วนะคะ ยังสามารถขานต่อได้จนกว่าจะหมด แต่ต้องรายงานสต๊อกต่อ สมอ. ห้ามผลิตเพิ่มนะคะ ใครคิดว่ายังจำเป้นต้องใช้ปลั๊กราง ปลั๊กไฟแบบนี้ ก็ซื้อมาตุนไว้ได้นะคะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ admin :: วันที่ลงประกาศ 2018-04-11 11:09:20


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4098345)

 อยากขอคัดลอกบทความ 

เรียน admin

ผมอยากจะขอคัดลอกบทความและภาพประกอบเพื่อเผยแพร่ให้พนักงานใน บริษัทที่ผมทำงานอยู่ได้มีความรู้ และได้รับความปลอดภัย 

ผู้แสดงความคิดเห็น ภูมิพัฒน วันที่ตอบ 2018-06-15 13:26:46



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล