ReadyPlanet.com


ข้อมูลแรงดันและความถี่ของระบบไฟฟ้าในแต่ละประเทศและการเตรียมอุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนเดินทาง


 

ระบบไฟฟ้าในแต่ละประเทศแตกต่างกันไปโดยเฉพาะแรงดันและความถี่ หน้าสัมผัสทางกายภาพ (เต้าเสียบและเต้ารับ) ก็ต่างกันออกไปอีกด้วยและมักจะใช้ข้ามระบบกันไม่ได้ นักเดินทางสามารถศึกษาและเตรียมตัวเพื่อเตรียมให้อุปกรณ์ไฟฟ้าของตนใช้งานได้ในจุดหมายปลายทาง


1) แรงดันและความถี่


เริ่มต้นด้วยการดูฉลากของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่คุณต้องการใช้ ถ้ามีเขียนไว้ทำนองว่า "100-240V, 50/60 Hz" ก็ใช้ที่ไหนก็ได้ทั่วโลกขอเพียงแต่หาตัวแปลงเต้าเสียบเต้ารับให้เหมาะสมก็พอ ซึ่งถ้าคุณมีอยู่แล้วก็อ่านหัวข้อถัดไปได้เลย แต่ถ้ายังไม่มีก็อ่านต่อ


เรื่องไฟฟ้าอาจดูซับซ้อน แต่ความจริงแล้วก็ไม่ได้ยากนัก ทั้งโลกนี้มีระบบไฟฟ้าอยู่เพียงสองแบบหลักเท่านั้น แต่มีจุดเชื่อมต่อทางกายภาพหลายแบบแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและประเทศ ระบบไฟฟ้าทั้งสองแบบได้แก่


100-127 โวลต์ ความถึ่ 60 hertz frequency (โดยทั่วไปคือ อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง ญี่ปุ่นตะวันตก)

220-240 โวลต์ ความถึ่ 50 hertz frequency (โดยทั่วไปคือ ส่วนที่เหลือของโลก)


อย่างไรก็ดี คุณอาจพบ 100-127 โวลต์ ความถี่ 50 Hz ได้ในโตเกียว, Madagascar, และหมู่เกาะในทะเล Caribbean ในทางตรงข้าม ก็ยังมีระบบ 220-240 โวลต์ที่ความถี่ 60 Hz เช่นใน South Korea, Peru, รวมถึงบางรัฐในBrazil และ Guyana บางประเทศที่ใช้ความถี่ 60 Hz มีแรงดันทั้งแบบ 100-127 โวลต์ในบางพื้นที่และ 220-240 โวลต์ในส่วนที่เหลือ เช่น Brazil, Philippines, และ Saudi Arabia พึงระวังเป็นพิเศษเมื่อคุณเดินทางไปที่จุดหมายที่ไม่เคยไปมาก่อนโดยเฉพาะภายในประเทศที่กล่าวมานี้ พึงศึกษาเรื่อง multiphase electrical systems ประกอบด้วย (ดูด้านล่างในหัวข้อ Large Appliance Power)


ถ้าความถี่และแรงดันถูกต้องตรงกัน คุณก็แค่หาตัวแปลงปลั๊กเสียบให้เหมาะสมก็ใช้งานได้แล้ว (ความแตกต่างระหว่าง 110V กับ 120V หรือ 220V กับ 240V ถือว่าพอใช้กันได้โดยสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป)


หากแรงดันไม่ถูกต้องตรงกันกับเครื่องใช้ไฟฟ้า คุณจะต้องใช้ หม้อแปลง หรือ converter เพื่อปรับแรงดันไฟฟ้า ปกติแล้วมีจำหน่ายทั่วไปในร้านขายของเพื่อการท่องเที่ยว


2) เต้าเสียบและตัวปรับต่อ


อุปกรณ์ที่ทำให้คุณสามารถเสียบเต้าเสียบของอุปกรณ์ไฟฟ้าของคุณเข้ากับเต้ารับในระบบต่างกันเรียกว่า ตัวปรับต่อ (adapter) ซึ่งมีขนาดเล็กและราคาไม่แพงนัก การเดินทางระหว่างสหราชอาณาจักรและเยอรมนี คุณต้องการเพียงตัวปรับต่อเท่านั้น โดยตัวปรับต่อจะทำให้ขาเหลี่ยมในแบบอังกฤษกลายเป็นขากลมแบบเยอรมัน และอาจต่อสายดินให้เชื่อมโยงเข้ากันด้วย


มีปลั๊กหลายรูปแบบในโลกนี้ โดยส่วนใหญ่คือ


"แบบอเมริกัน" (ชนิด A) ขาแบนสองขาขนานกัน

"แบบยุโรป" (ชนิด C) ขากลมสองขา

"แบบอังกฤษ" (ขนิด G) ขาเหลี่ยมสามขา

ถ้าคุณมีอุปกรณ์ที่ปรับขาเต้าเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าของคุณให้เป็นไปได้ถึงสามแบบแล้ว คุณก็อาจเสียบอุปกรณ์ดังกล่าวได้กับ 90% ของโลก (ข้ายกเว้นสำคัญคือ แอฟริกาใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อาร์เจนตินา และบางส่วนของจีน ซึ่งใช้ปลั๊กชนิดe I ซึ่งมีขาแบนวางเฉียงเข้าหากัน) ตัวปรับต่อระหว่างชนิด A และชนิด C และจาก C เป็น G มีขนาดเล็กและราคาถูก ในขณะที่การแปลงชนิด A เป็นชนิด G หรือชนิด G เป็ยอย่างอื่นจำต้องใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น


สำหรับช่างไฟฟ้ามือสมัครเล่นที่อาจอยู่ต่างแดนเป็นเวลานาน คุณสามารถซื้อหัวปลั๊กตัวผู้ที่ประเทศปลายทาง แล้วตัดต่อสายใหม่ ซึ่งอาจหาได้ง่ายกว่าและราคาถูกกว่า คำเตือน: มีความเสี่ยงในการเกิดไฟฟ้าช็อตก่อให้เกิดเพลิงไหม้และเป็นอันตรายถึงชีวิตหากคุณทำไม่ถูกหลักวิชา


คุณอาจเสียบปลั๊กชนิด C ลงในเต้ารับชนิด G โดยไม่ต้องมีตัวแปลงใดๆ หากเอาวัตถุอื่นใดเสียบลงในรูสายดินเพื่อให้รูปที่เหลือทั้งสองเปิดออก (นี่เป็นหลักการเดียวกันกับที่ตัวปรับต่อหลายรุ่นใช้) ปิดไฟก่อนเสียบ และหาวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้ามาเสียบที่รูปสายดิน วิธีนี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เต้ารับและทำให้เจ้าของสถานที่ไม่พอใจได้ ทั้งยังอาจเป็นการผิดกฎหมาย


เต้ารับแบบสองขา (สองรู) จะไม่มีสายดิน แต่เต้าเสียบที่มีสามขา (สามแท่ง) จะมีสายดิน เต้ารับชนิด C, D, E, F, H, J, K หรือ L จะยอมรับปลั๊กที่ไม่มีสายดินชนิด C แต่สายดินจะไม่ทำงานหากไม่ใช้เต้าเสียบสายดินแบบของมันเท่านั้น การใช้ตัวปรับต่อที่ทำให้เต้าเสียบสามขากลายเป็นเต้าเสียบสองขาอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะมีความเสี่ยงจากการที่สายดินไม่ได้เชื่อมต่อ


ในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งใช้เต้ารับที่รองรับได้หลายชนิด multi-plug เช่น รับได้ทั้ง ชนิด A และชนิด C อย่าเหมาไปเองว่าแรงดันไฟฟ้าจะถูกต้องเพราะว่าปลั๊กเสียบกันได้ เต้ารับ ชนิด A+C ในประเทศไทยมีแรงดันไฟฟ้า 220V และอาจทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้าจากอเมริกา (110V) ที่ใช้ปลั๊กชนิด A


3) หม้อแปลงหรือตัวแปลง


การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าระบบ 220V-240V กับแหล่งจ่ายไฟแบบ 110V คุณต้องใช้หม้อแปลง (transformer)


ถ้าต้องการใช้อุปกรณ์ 110V ขณะที่แหล่งจ่ายไฟคือ 220V-240V คุณอาจใช้หม้อแปลงหรือตัวแปลง (converter) ก็ได้ ซึ่งปกติแล้วตัวแปลงมีราคาถูกกว่า


ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าของคุณเป็นเพียงขดลวดทำความร้อนและมอเตอร์ไฟฟ้า เช่น ที่เป่าผม คุณอาจใช้เพียงตัวแปลงก็ได้ แต่ต้องมั่นใจว่าหม้อแปลงหรือตัวแปลงสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้เพียงพอสำหรับอุปกรณ์ของคุณ ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าของคุณเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และมีวงจรไฟฟ้าที่ละเอียดอ่อน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ ทีวี ไมโครเวฟ เครื่องบันทึกวีดีโอหรือเสียง หรือ แม้แต่ที่ชาร์จแบตเตอร์รี่ คุณควรใช้หม้อแปลง


ก่อนที่จะซื้อของมาใช้ อ่านข้อมูลด้านล่างให้เข้าใจก่อน


3.1) หม้อแปลง

มีสองประเภทคือ "แปลงขึ้น (step-up)" และ "แปลงลง (step-down)" หม้อแปลงที่แปลงขึ้นทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการแรงดันสูงต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟที่มีแรงดันต่ำได้ เช่น (เอาเครื่องใช้ไฟฟ้าจากอังกฤษไปใช้ในสหรัฐอเมริกา) หม้อแปลงที่แปลงแรงดันไฟฟ้าลงก็เป็นในทางตรงข้าม หม้อแปลงบางรุ่นก็ทำงานได้ทั้งสองแบบทั้งแปลงขึ้นและแปลงลง ต้องระมัดระวังให้มากและเลือกใช้ให้ถูกประเภท ถ้าคุณใช้หม้อแปลงสำหรับแปลงไฟ 110 โวลต์เป็น 220 โวลต์ ไปเสียบเข้ากับแหล่งจ่ายไฟที่เป็น 220 โวลต์อยู่แล้ว ผลที่ได้คือไฟ 440 โวลต์ ซึ่งสร้างความเสียหายแก่อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นอัตรายแก่ชีวิตและอาจก่อให้เกิดอัคคีภัย

คุณต้องใช้อุปกรณ์ภายใต้ กำลังไฟฟ้า (wattage) ของหม้อแปลง และถ้าให้ดีก็ควรเผื่อกำลังของหม้อแปลงไว้ 10% หาไม่แล้วหม้อแปลงจะร้อนจนไหม้ ก่อนจะซื้อต้องตรวจดูกำลังไฟฟ้าให้ดีเสียก่อน หากไม่มีกำลังไฟฟ้าก็มักแสดง กระแสไฟฟ้าในหน่วยแอมแปร์ A ไว้ ซึ่งกำลังไฟฟ้าคำนวณได้จาก แรงดันไฟฟ้าคูณกับกระแสไฟฟ้า

หม้อแปลงใช้ได้กับทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งยังอาจใช้ได้เป็นเวลานานพอสมควรหรืออาจใช้ต่อเนื่องไปก็ได้ ต่างจากตัวแปลงที่ใช้ได้เพียงเวลาจำกัด


3.2) ตัวแปลง

อุปกรณ์นี้มีน้ำหนักเบาราคาถูกและอาจรองรับกำลังไฟฟ้าได้ถึง 1600 วัตต์ แต่ทำงานได้เฉพาะสำหรับการแปลงแรงดันลงเท่านั้น นั่นคือสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟ 110-120 โวลต์ แต่นำไปใช้ในประเทศที่จ่ายไฟ 220-240 โวลต์ ตัวแปลงออกแบบมาเพื่อใช้งานเพียงหนึ่งหรือสองชั่วโมงต่อครั้งเท่านั้น ไม่ใช่ให้ใช้ต่อเนื่องกัน และอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ไม่ควรใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีชิปหรือวงจรไฟฟ้าอย่างคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องบันทึกวีดีโอและเสียง หรืแแม้แต่เครื่องชาร์จแบตเตอรี่


ปัจจุบันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำหน่ายมาพร้อมกับตัวแปลงไฟที่แปลงไฟบ้านเป็นไฟกระแสตรง คุณไม่ควรใช้ตัวแปลงซ้อนลงไปอีก แต่จะต้องใช้หม้อแปลงเท่านั้น อย่างไรก็ดีตัวแปลงรุ่นใหม่หลายรุ่นรองรับระบบไฟทั้ง 110 และ 220 โวลต์ คุณจึงอาจเพียงหัวตัวต่อปลั๊กให้เสียบลงเข้ากับไฟบ้านได้ก็พอ


4) ความถี่


โดยปกติแล้วความถี่ไม่ใช่ปัญหา อุปกรณ์โดยทั่วไปทำงานได้ทั้งที่ความถี่ 50 และ 60 Hz โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ให้ความร้อนหรืออุปกรณ์ให้แสงสว่าง (ยกเว้นหลอดเรืองแสง)


ความถี่มักจะส่งผลกระทบต่อนาฬิกาและมอเตอร์ ซึ่งจะเร็วขึ้นหรือช้าลงตามความถี่ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากที่ออกแบบมาไว้ อย่างไรก็ดีอุปกรณ์ที่ทำงานโดยใช้แบตเตอรี่ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสตรงจะทำงานได้กับทั้งความถี่ 50 และ 60 Hz เพราะว่าไฟฟ้ากระแสสลับถูกแปลงไฟฟ้ากระแสตรงก่อนป้อนเข้าสู่อุปกรณ์ไฟฟ้า


อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ที่แปลงไฟสลับเป็นไฟตรงอาจได้รับผลกระทบจากความถี่ก็ได้ั เนื่องจากความถี่ 60 Hz จะถูกแปลงเป็นไฟตรงได้ง่ายกว่า แต่ในอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนใหญ่แล้วออกแบบมาเผื่อไว้ และอยู่ในขอบข่ายที่พอยอมรับได้ มีเพียงแต่แรงดันเท่านั้นที่จะต้องแปลงให้เหมาะสม เพราะมีความต่างกันถึงสองเท่าตัว


ในกรณีที่อุปกรณ์ของคุณไม่ทำงานหากความถี่ไฟฟ้าไม่เหมาะสม (มอเตอร์กำลังสูงและนาฬิกาที่ไม่ใช้ quartz) คุณไม่มีทางเลือกอื่นที่จะปรับความถี่ได้เลย ในสถาทูตหรือโรงงานอาจมีการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ความถี่ตามต้องการ แต่ไม่มีวิธีการที่เหมาะสำหรับนักเดินทางชั่วคราว


ถ้าคุณจำต้องใช้ความถี่ไฟฟ้าที่ต้องการจริงๆ คุณอาจใช้เครื่องแปลงไฟฟ้า (inverter) แบบที่ใช้ในรถยนต์ ที่แปลงจากไฟ 12 โวลต์ เป็นไฟบ้าน อย่างไรก็ตามพึงระลึกว่าคลื่นที่ได้อาจไม่ใช่คลื่นรูปซานที่สมบูรณ์แต่อาจเป็นคลื่นรูปฟันเลื่อย นอกจากนี้ก็ยังต้องมั่นใจว่าเครื่องแปลงไฟฟ้านั้นจ่ายกำลังไฟฟ้าเพียงพอกับอุปกรณ์ที่จะใช้


ญี่ปุ่นเป็นกรณียกเว้นพิเศษ ญี่ปุ่นตะวันออก (เช่น โตเกียว) ใช้ความถี่ 50 Hz ส่วนญี่ปุ่นตะวันตก (เช่น โอะซะกะ) ใช้ความถี่ 60 Hz อุปกรณ์ที่ผลิตสำหรับตลาดญี่ปุ่นอาจมีปุ่มปรับเลือกความถี่ 50 Hz หรือ 60 Hz


5) แหล่งจ่ายไฟฟ้าที่ไม่เสถียร


ในประเทศกำลังพัฒนา บางครั้งการจ่ายกระแสไฟฟ้าก็ไม่มีเสถียรภาพ คุณจำต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าของคุณ


อันตรายที่สำคัญที่สุดคือ ไฟกระชาก (power spikes) ซึ่งแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้นกว่าปกติเพียงเสี้ยววินาที แต่อาจสร้างความเสียหายใหญ่หลวงได้ ในประเทศพัฒนาแล้วสาเหตุหลักของไฟกระชากเกิดจากฟ้าผ่า แต่ในประเทศกำลังพัฒนาปัญหานี้มาพร้อมกับ ไฟดับ และเมื่อไฟกลับมาก็มักจะไม่กลับมาอย่างราบรื่น วิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันปัญหานี้คือถอดปลั๊กเมื่อไฟฟ้าดับ และรอให้ไฟกลับมาสักสองสามนาทีก่อนที่จะเสียบปลั๊กกลับไป


อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก (surge protectors) เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันกระแสไฟที่ขึ้นๆ ลงๆ และมีขนาดเล็กสามารถพกพาได้สะดวก ยังมีอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากสำหรับสายโทรศัพท์ที่เชื่อมต่อกับแฟกซ์หรือโมเด็มอีกด้วย อุปกรณ์ที่ใช้กันมากที่สุดคือ metal oxide varistor (MOV) ซึ่งจะลัดวงจรลงสายดินทันทีเมื่อแรงดันเกินกว่าที่กำหนด อุปกรณ์แบบนี้พังง่ายเมื่อมีไฟกระชาก และบางรุ่นจะมีไฟเตือนบอกว่าอุปกรณ์เสียหายแล้ว คุณควรตรวจสอบอุปกรณ์เหล่านี้เสมอเพราะว่ามันยังจ่ายไฟได้แม้ว่าความสามารถในการป้องกันไฟกระชากได้เสื่อมลงแล้ว นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแบบที่ใช้ ฟิวส์ ซึ่งจะหากขาดแล้วก็จะไม่จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกต่อไป แต่ก็เปลี่ยนใหม่ได้สะดวก อย่างไรก็ดีอุปกรณ์แบบฟิวส์นี้อาจจะตอบสนองต่อไฟกระชากได้ช้า กว่าฟิวส์จะขาดอุปกรณ์ของคุณก็อาจเสียหายไปแล้ว


ในบางที่ โดยเฉพาะย่านที่ชุมชนที่ขยายตัวโดยไม่มีการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานที่ดี คุณอาจพบกับ ไฟตก เช่น แทนที่จะได้ไฟ 240 โวลต์ กลับได้ไฟเพียง 200V หรือน้อยกว่า (บางครั้งต่ำถึง 50% ของแรงดันปกติก็พบได้) เหตุการณ์แบบนี้พบได้บ่อย โดยเฉพาะเมื่อคุณอยู่ทางปลายสาย (ไกลจากหม้อแปลง) โดยเกิดจากความต้านทานในสายส่ง อุปกรณ์บางอย่าง เช่น หลอดไฟแสงสว่า อุปกรณ์ทำความร้อน อาจทำงานได้ตามปกติ แม้ว่าแรงดันที่ลดลง 20% จำทำให้พลังงานที่จ่ายได้ลดลง 36% อย่างไรก็ดี แรงดันเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับ หลอดเรืองแสง ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ ซึ่งมักจะหยุดทำงาน (แต่มักจะไม่เสียหาย เมื่อไฟกลับมาตามปกติก็จะกลับมาทำงานใหม่อีกครั้ง)


ไฟตกอาจแก้ไขได้ด้วย voltage stabiliser หรือ AVR (Automatic Voltage Regulator) โดยอุปกรณ์ที่ว่านี้จะเพิ่มแรงดันกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งหลักการก็เหมือกับ switching converters แต่ว่า stabilise


แต่ว่า stabilisers จะให้ไฟฟ้าที่เสถียร แม้ว่ากระแสไฟฟ้าที่ป้อนเข้ามาจะไม่เสถียร Stabilisers มีขนาดต่างกันไปตามกำลังไฟฟ้าที่จ่ายได้ แต่มักมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะแก่การเคลื่อนย้ายไปพร้อมกับการเดินทางระยะสั้น พึงสังวรณ์ว่าอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ตู้เย็น มอเตอร์ไฟฟ้า รวมถึงขดลวดทำความร้อน และหลอดไส้ อาจใช้พลังงานมากกว่าปกติตอนเริ่มทำงาน และอาจมากถึง 2 หรือ 3 เท่าของอัตราปกติ จึงต้องเลือกใช้ stabiliser ที่จ่ายไฟได้ตามอัตราที่อุปกรณ์ต้องการในช่วงต้นนี้ด้วย stabilisers อาจปล่อยกระแสไฟกระชากหากแหล่งจ่ายไฟดับลงกระทันหันแล้วแต่ชนิดของ stabiliser รุ่นที่มีราคาถูกและใช้ relay อาจทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหายได้


6) เครื่องกำเนิดไฟฟ้า


ในหลายประเทศที่ยังไม่มีระบบไฟฟ้าพื้นฐานที่ดีพอหรือในสถานที่ห่างไกล การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในบางที่ก็ทำงานได้ดี แต่ในหลายแห่งอาจทำงานห่วยและสร้างปัญหาให้กับอุปกณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อได้ แรงดันไฟฟ้า ความถี่ และรูปคลื่น (ควรเป็นคลื่นไซน์ที่เรียบ) อาจผันแปรไปได้ ในบางที่มีการดัดแปลงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้หมุนเร็วขึ้น เพื่อให้ได้แรงดันและกำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แต่นี่ก็เพิ่มความถี่ด้วย สิ่งทีทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนด้วยความเร็วคงที่เรียกว่า governor ถ้ามีการดัดแปลงอุปกรณ์ชิ้นนี้ แรงดันไฟฟ้าที่ได้มาอาจสูงผิดปกติและทำลายอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้ คำแนะนำที่ดีที่สุดคืออย่างเสี่ยงเชื่อมต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าของคุณเข้ากับระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่คุณไม่ไว้ใจ หรืออย่างน้อยก็รีบถอดปลั๊กออกเสียเมื่อใช้เสร็จ


ถ้าคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับคุณภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีกฎง่ายๆ ที่ช่วยคุณดู ถ้าใช้น้ำมันเบนซินน่าจะเป็นเครื่องที่ไม่ดี เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ดีมักใช้น้ำมันดีเซล นอกจากนี้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ดีมักใช้รอบการหมุนต่ำ เช่น 1500 รอบต่อนาที (RPM) สำหรับ 50Hz หรือ 1800 รอบต่อนาที สำหรับ 60Hz ถ้าความเร็วเครื่องยนต์สูงตั้งแต่ 3000 รอบต่อนาที ขึ้นไปไม่ถือว่าเป็นระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ดี


http://incubator.m.wikimedia.org/wiki/Wy/th/ระบบไฟฟ้า



ผู้ตั้งกระทู้ admin (megalightthailand-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2017-06-23 18:17:39


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล