ReadyPlanet.com


เกร็ดน่ารู้ในการติดตั้ง FUSE CUTOUT / DROPOUT FUSE


 

 

 

 


เกร็ดน่ารู้ในการติดตั้ง FUSE CUTOUT / DROPOUT FUSE 

 


Fuse Cutout หรือ Dropout Fuse เป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้กันมานานแล้ว ความน่าเชื่อถือในการทำงานต่างก็เป็นที่ยอมรับแต่ในการใช้งานนั้น ผู้ใช้งานควรมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเพื่อยึดอายุการใช้งานและทำให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามาลองดูซิว่า ท่านเคยทำแบบนี้กันบ้างหรือไม่

 

1. ห้ามติดตั้ง Fuse Cutout ในพื้นที่ปิดหรือติดตั้งในห้อง เนื่องจากเมื่อ Cutout Fuse ทำงานตัดวงจร จะมีการปล่อยก๊าซและมีประกายไฟหากไม่มีการระบายอากาศที่ดีอาจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการ Flashover ได้

 

2. การเลือกขนาดของ Fuse link ห้ามใส่ Fuse link ที่เกิน rating ของ Fuse cutout เด็ดขาด เช่น fuse link 140 A ถึงแม้บ้างครั้งอาจจะใส่ใน Fuse cutout 100 A (ได้) แต่ก็จะมีผลข้างเคียงตามมา เช่น กระแสที่ผ่านจุดต่างๆ อาจจะร้อนเกินไป ทำให้ Fuse cutout เสียหายได้

 

3. เลือก Cutout ให้ถูกต้องกับระบบที่ใช้งาน เช่น ขนาดพิกัดแรงดัน Voltage, ขนาดพิกัดกระแส Fuse link, พิกัด BIL และระดับของมลภาวะเพื่อป้องกันการเสียหาย เป็นต้น

 

4. การตรวจสอบก่อนการใช้งาน การการติดตั้งต้องสำรวจดูความเรียบร้อยของ Cutout ก่อนเสมอ เช่น ลูกถ้วยไม่มีรอยแตกบิ่น ส่วนของโลหะที่รับแรงกระแทกเวลา Cutout เปิด-ปิดจะต้องไม่มีรอยแตกร้าว


5. ไม่ควรทิ้ง Fuse holder อยู่ในตำแหน่งเปิด บางครั้งผู้ติดตั้งมักจะปล่อยให้ Fuse cutout ที่อยู่บนเสา อยู่ในสภาพที่เปิดห้อย Fuse holder ไว้ซึ่งจะทำให้ความชื้นและไอน้ำแทรกเข้าระหว่างชั้นฉนวนของ Fuse holder ได้


6. ต้องดึง Link ejector ให้เข้าล็อค การพันปลายหางของ Fuse link เข้ากับ Link ejector นั้นให้รั้งจนตึงมอเพื่อให้ Link ejector อยู่ในตำแหน่งที่ล็อคไว้ และพันสายตามเข็มนาฬิกาให้รอบน็อต จะเห็นว่าสายจะถูกน็อตบีบไว้ จากนั้นให้ขันน็อตให้แน่นประมาณ 175 ปอนด์นี้ (เรียกว่าพอ ตึงๆ แน่นๆ นั้นละ)


7. เมื่อ Fuse holder เกิดความเสียหายหรือสูญเสียหายก็ควรเปลี่ยนให้ตรงตาม Spec. เพราะถ้าเปลี่ยน Cap คนละรุ่น กับ Cutout อาจทำให้พิกัดของ Cutout แตกต่างออกไป และก่อให้เกิดความเสียหาย อีกอย่างหนึ่งก็คือ การนำ Fuse link แบบเก่า Solid Button head หรือแบบที่เรียกว่าหัวกระดุม (แบบถอดออกไม่ได้) ไปใช้กับ Fuse holder แบบใหม่ที่เป็นแบบ Arc Shorting rod (ลักษณะเป็นแบบแท่งทองแดงเกลียวใน) ผู้ติดตั้งบางคนจะดัดแปลงโดยหักแท่งทองแดงนี้ทิ้งเพื่อให้ใช้กับ Fuse link ได้ แบบนี้จะเป็นอันตราย


8. การใช้อุปกรณ์ตัดโหลดเวลาปลดสับ Cutout ท่านสามารถที่จะปลดสับ Cutout ได้ตอนที่จ่ายอยู่แต่ก็เสี่ยงพอสมควร ดังนั้นเวลาปลดสับควรใช้อุปกรร์ตัดโหลด ดีกว่าครับ และ Load break tool หรือไม้ชักฟิวส์ก็ต้องดูแลให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ถ้าผิวแตกกะเทาะมากก็จะต้องซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

 

9. ห้ามดึง Fuse link แรงๆ ปกติ Fuse link จะออกแบบมาให้สามารถใส่และดึงให้ตึงๆเต็มที่ได้แบบไม่มีปัญหา แต่ถ้าโดนแรงดึงที่ผิดปกติก็อาจจะขาดได้ ซึ่งมาตรฐาน ANSI กำหนดให้ Fuse link รับแรงดึงได้ 10 ปอนด์ แต่ผู้ผลิตมักจะทดสอบเผื่ไว้อยู่แล้ว


10. อย่าแกะท่อกระดาษที่ห่อ Fuse link ออก ซึ่งท่อกระดาษนั้นไม่ใช้เอาไว้กันกระแทก แต่เป็นกระดาษพิเศษที่จะช่วยในการดับ Arch ที่ Fault ต่ำๆ

 

 

Cr : ห้องไฟฟ้า (Electrical Room) 
 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ admin (megalightthailand-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2017-06-23 17:29:04


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล