ReadyPlanet.com


มาทำความรู้จักเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) กันเถอะ


   

มาทำความรู้จักเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) กันเถอะ 

   

                      เครื่องตัดไฟรั่ว (circuit breaker) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่ตรวจจับเหตุการณ์ไฟฟ้ารั่ว และ

ทำการตัดไฟเพื่อรักษาชีวิตของผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูด รวมทั้งป้องกันทรัพย์สินเสียหายเนื่องจากไฟไหม้ที่เกิดจาก

ไฟฟ้ารั่วเป็นปริมาณมาก, โดยปกติจะติดตั้งที่แผงไฟหลักของบ้านพักอาศัย หรือในส่วนของบ้านที่มีความ

เสี่ยงในการเกิดไฟฟ้าดูดเป็นพิเศษ (เช่น ห้องน้ำที่มีการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า, เครื่องโกนหนวด หรือ

เครื่องเป่าผม)

เครื่องตัดไฟรั่วมี 2 ประเภท

               1.เครื่องตัดไฟรั่วแบบตรวจจับแรงดัน ทำงานโดยวัดศักย์ไฟฟ้าที่ตัวถังโลหะของเครื่องใช้เทียบ

กับหลักดินที่ติดตั้งแยกต่างหาก หากมีความต่างศักย์มากเกินค่าที่กำหนดไว้ (ปกติจะตั้งไว้ที่ 50 โวลต์) ก็จะ

ทำการตัดไฟ, ปัจจุบันเครื่องตัดไฟรั่วชนิดนี้ไม่นิยมใช้แล้ว เนื่องจากความยุ่งยากในการติดตั้ง (ต้องต่อสาย

แยกจากตัวถังเครื่องไฟฟ้ามาที่เครื่องตัดไฟรั่ว และต่อสายจากเครื่องตัดไฟรั่วไปยังหลักดิน) และการป้องกัน

ที่ไม่ครอบคลุมในกรณีที่เกิดการรั่วจากตัวถังส่วนที่ไม่ได้ทำการวัด

             2.เครื่องตัดไฟรั่วแบบตรวจจับกระแส ทำงานโดยการเทียบปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าวงจรกับ

ปริมาณที่ไหลออกจากวงจร หากปริมาณไหลออกน้อยกว่าที่ไหลเข้า แสดงว่าในวงจรมีไฟฟ้ารั่วไหลออกไป

ภายนอก, หากปริมาณการรั่วไหลมากเกินที่กำหนดไว้ (ปกติจะตั้งไว้ที่ 30 มิลลิแอมป์) ก็จะทำการตัด

ไฟ, เครื่องตัดไฟรั่วประเภทนี้จะไม่ใช้หลักดิน ทำให้สามารถติดตั้งได้แม้ในระบบไฟฟ้าที่ไม่มีสายดิน

               โดยปกติ การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วจะทำในลักษณะเดียวกับสะพานไฟ (ติดตั้งคั่นสายไฟเข้าวงจรที่

ต้องการจะตรวจจับและตัดไฟ), เนื่องจากลักษณะนี้เอง จึงมักมีการรวมความสามารถให้สามารถตัดกระแส

ไฟฟ้าเกินในลักษณะเดียวกับเบรกเกอร์ปกติเข้าไปในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกันด้วย

https://www.youtube.com/watch?v=YkQnLMu6e1k (คลิ๊กที่ลิ้งเพื่อดูวิดีโอความรู้จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)

 

   อ้างอิง "การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค" , "https://th.wikipedia.org/wiki.com



ผู้ตั้งกระทู้ admin :: วันที่ลงประกาศ 2016-12-22 15:42:50


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4033966)

 อื้มมม

ผู้แสดงความคิดเห็น ปลาทอง วันที่ตอบ 2017-01-27 09:54:40



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล